เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 5.อุโปสถวรรค 3.วิสาขาสูตร
บุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ 8 หลังจากตายแล้วพึงไปเกิด
ร่วมกับเทวดาชั้นดุสิต ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของมนุษย์เมื่อ
นำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
800 ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นนิมมานรดี 30 ราตรี
โดยราตรีนั้นเป็น 1 เดือน 12 เดือนโดยเดือนนั้น เป็น 1 ปี 8,000 ปีทิพย์โดยปีนั้น
เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นนิมมานรดี ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือ สตรีหรือ
บุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ 8 หลังจากตายแล้วพึงไปเกิด
ร่วมกับเทวดาชั้นนิมมานรดี ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า ราชสมบัติของ
มนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
1,600 ปีของมนุษย์เท่ากับวันและคืนหนึ่งของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี 30
ราตรีโดยราตรีนั้น เป็น 1 เดือน 12 เดือนโดยเดือนนั้น เป็น 1 ปี 16,000 ปีทิพย์
โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ก็เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้
คือ สตรีหรือบุรุษบางคนในโลกนี้รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ 8 หลังจากตาย
แล้วพึงไปเกิดร่วมกับเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ข้อนี้เรากล่าวหมายถึงเรื่องนี้แลว่า
ราชสมบัติของมนุษย์เมื่อนำไปเปรียบกับสุขที่เป็นทิพย์ ถือว่าเป็นของเล็กน้อย
บุคคลไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงลักทรัพย์
ไม่พึงพูดเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา
พึงงดเว้นจากเมถุนที่เป็นความประพฤติไม่ประเสริฐ
ไม่พึงบริโภคอาหารในเวลาวิกาล ในเวลากลางคืน
ไม่พึงทัดทรงดอกไม้ ไม่พึงลูบไล้ของหอม
และพึงนอนบนเตียง บนพื้น หรือบนที่ที่ปูลาดไว้
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า
อุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ 8 นี้แล
ที่พระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดทุกข์ทรงประกาศไว้
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ทั้งสอง
งดงามส่องสว่าง โคจรไปทั่วสถานที่ประมาณเท่าใด
ก็ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์นั้น
กำจัดความมืดไปในอากาศ
ทำให้ทิศสว่างไสว ส่องแสงอยู่ในอากาศ
ทั่วสถานที่ประมาณเท่าใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :308 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 5.อุโปสถวรรค 3.วิสาขาสูตร
ทรัพย์ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์
ทองสิงคีและทองคำตลอดถึงทองชื่อว่าหฏกะ
เท่าที่มีอยู่ในสถานที่ประมาณเท่านั้น
และแสงดวงจันทร์ หมู่ดาวทั้งหมด
ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ 161 แห่งอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ 8
เพราะฉะนั้นแล สตรีหรือบุรุษผู้มีศีล
รักษาอุโบสถที่ประกอบด้วยองค์ 8
ทำบุญที่มีสุขเป็นกำไร ไม่ถูกนินทา ย่อมเข้าถึงสวรรค์
วิตถตุโปสถสูตรที่ 2 จบ

3. วิสาขาสูตร
ว่าด้วยทรงแสดงอุโบสถแก่นางวิสาขา
[43] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตา
ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น นางวิสาขามิคารมาตาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า
“วิสาขา อุโบสถประกอบด้วยองค์ 8 ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมี
ผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก
อุโบสถประกอบด้วยองค์ 8 ประการ ที่บุคคลอยู่จำแล้ว ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ดังนี้ว่า
1. พระอรหันต์ทั้งหลายละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ วางทัณฑาวุธ
และศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อ
สรรพสัตว์อยู่ตลอดชีวิต แม้เราก็ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ วาง

เชิงอรรถ :
1 เสี้ยวที่ 16 ในที่นี้หมายถึงอานิสงส์แห่งอุโบสถที่แบ่งเป็น 16 ส่วน แล้วเอาส่วน 1 ใน 16 ส่วนนั้นมา
แบ่งเป็นอีก 16 ส่วน แล้วเอาส่วนหนึ่งจาก 16 ส่วนที่แบ่งครั้งที่ 2 นั้นมาแบ่งเป็น 16 ส่วนอีกครั้งหนึ่ง
เป็นครั้งที่ 3 ส่วน 1 ใน 16 ส่วนที่แบ่งครั้งที่ 3 นี้แหละจัดเป็นเสี้ยวที่ 16 (ตามนัย สํ.อ. 1/242/298)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :309 }