เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 4.ทานวรรค 9.อภิสันทสูตร
ย่อมบูชาบรรพชิตผู้ไม่ครองเรือน
ผู้ไม่มีบาป ผู้ประพฤติพรหมจรรย์
สัตบุรุษผู้เกื้อกูลแก่พระราชา เกื้อกูลแก่เทวดา
เกื้อกูลแก่ญาติและสหายทั้งหลาย
ตั้งมั่นดีแล้วในสัทธรรม เป็นผู้เกื้อกูลแก่คนทั้งปวง
สัตบุรุษนั้นกำจัดมลทินคือความตระหนี่ได้แล้ว
ย่อมถึงโลกอันเกษม
สัปปุริสสูตรที่ 8 จบ

9. อภิสันทสูตร
ว่าด้วยห้วงบุญกุศล
[39] ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศล1 8 ประการนี้ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อ
ให้ได้อารมณ์ดี2 มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ห้วงบุญกุศล 8 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ นี้เป็นห้วง
บุญกุศลประการที่ 1 นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุข
เป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ
2. อริยสาวกเป็นผู้ถึงพระธรรมเป็นสรณะ นี้เป็นห้วงบุญกุศลประการ
ที่ 2 ฯลฯ
3. อริยสาวกเป็นผู้ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ นี้เป็นห้วงบุญกุศลประการ
ที่ 3 นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิด
ในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ

เชิงอรรถ :
1 ห้วงบุญกุศล ในที่นี้หมายถึงผลแห่งบุญกุศล ซึ่งหลั่งไหลนำความสุขมาสู่ผู้บำเพ็ญอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย
(องฺ.จตุกฺก.อ. 2/51/348, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา 2/51/382)
2 อารมณ์ดี ในที่นี้หมายถึงอารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
(องฺ.จตุกฺก. อ. 2/51/348)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :299 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 4.ทานวรรค 9.อภิสันทสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ทาน 5 ประการ1นี้ เป็นมหาทาน ที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน
รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ในอดีตไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ในปัจจุบัน
ไม่ถูกลบล้าง ในอนาคตก็จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
ทาน 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ อริยสาวก
ผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์แล้ว ชื่อว่าให้ความไม่มีภัย ให้ความ
ไม่มีเวร ให้ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์ทั้งหลาย ไม่มีประมาณ
ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียน
อันไม่มีประมาณ นี้เป็นทานประการที่ 1 เป็นมหาทานที่รู้กันว่า
ล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ในอดีตไม่
ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ในปัจจุบันไม่ถูกลบล้าง ในอนาคต
ก็จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน นี้เป็นห้วงบุญ
กุศลประการที่ 4 นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล
ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ
2. อริยสาวกเป็นผู้ละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ
3. อริยสาวกเป็นผู้ละเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ฯลฯ
4. อริยสาวกเป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ ฯลฯ
5. อริยสาวกเป็นผู้ละเว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นเหตุแห่งความประมาท อริยสาวกผู้เว้นขาดจากการเสพของ
มึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทแล้ว ชื่อว่าให้
ความไม่มีภัย ให้ความไม่มีเวร ให้ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์
ทั้งหลาย ไม่มีประมาณ ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ความ
ไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนอันไม่มีประมาณ นี้เป็นทานประการ
ที่ 5 เป็นมหาทานที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์
เป็นของเก่า ในอดีตไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ในปัจจุบัน
ไม่ถูกลบล้าง ในอนาคตก็จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์

เชิงอรรถ :
1 ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/28/43, อภิ.ก.37/480/289-290 ประกอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :300 }