เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 4.ทานวรรค 7.สัปปุริสทานสูตร
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง ทำบุญ-
กิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง แต่ไม่จัดแจงบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย
ภาวนาเลย หลังจากตายแล้ว เขาย่อมเกิดร่วมกับเทวดาชั้นนิมมานรดี ภิกษุทั้งหลาย
ท้าวสุนิมมิตเทพบุตรในชั้นนิมมานรดีนั้นทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานให้ยิ่งขึ้น
ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลให้ยิ่งขึ้น ย่อมครอบงำเทวดาชั้นนิมมานรดีได้โดยฐานะ
10 ประการ คือ อายุที่เป็นทิพย์ ฯลฯ โผฏฐัพพะที่เป็นทิพย์
บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง ทำบุญ-
กิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง แต่ไม่จัดแจงบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย
ภาวนาเลย หลังจากตายแล้ว เขาย่อมเกิดร่วมกับเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
ภิกษุทั้งหลาย ท้าววสวัตดีเทพบุตรในชั้นปรนิมมิตวสวัตดีนั้น ทำบุญกิริยาวัตถุที่
สำเร็จด้วยทานให้ยิ่งขึ้น ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลให้ยิ่งขึ้น ย่อมครอบงำ
เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดีได้ โดยฐานะ 10 ประการ คือ อายุที่เป็นทิพย์ วรรณะ
ที่เป็นทิพย์ สุขที่เป็นทิพย์ ยศที่เป็นทิพย์ อธิปไตยที่เป็นทิพย์ รูปที่เป็นทิพย์
เสียงที่เป็นทิพย์ กลิ่นที่เป็นทิพย์ รสที่เป็นทิพย์ โผฏฐัพพะที่เป็นทิพย์
ภิกษุทั้งหลาย บุญกิริยาวัตถุ 3 ประการนี้แล
ปุญญกิริยาวัตถุสูตรที่ 6 จบ

7. สัปปุริสทานสูตร
ว่าด้วยสัปปุริสทาน
[37] ภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน 8 ประการนี้
สัปปุริสทาน 8 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สัตบุรุษย่อมให้ของที่สะอาด 2. สัตบุรุษย่อมให้ของที่ประณีต
3. สัตบุรุษย่อมให้ตามกาล 4. สัตบุรุษย่อมให้ของที่สมควร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :296 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 4.ทานวรรค 8.สัปปุริสสูตร
5. สัตบุรุษย่อมเลือกให้1 6. สัตบุรุษย่อมให้เป็นนิตย์
7. สัตบุรุษกำลังให้ก็ทำจิตให้ผ่องใส 8. สัตบุรุษครั้นให้แล้วก็ดีใจ
ภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน 8 ประการนี้แล
สัตบุรุษย่อมให้ทาน คือ
ให้น้ำและโภชนะที่สะอาด ให้ของที่ประณีต
ให้ตามกาล ให้ของที่สมควร ให้เป็นนิตย์
ในท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ผู้เป็นเขตดี
บริจาคอามิสมากมายก็ไม่เดือดร้อน
ท่านผู้เห็นแจ้งย่อมสรรเสริญทานที่สัตบุรุษให้แล้วอย่างนี้
บัณฑิตผู้มีปัญญา มีศรัทธา มีใจเสียสละ บูชาอย่างนี้
ย่อมเข้าถึงโลกที่ไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุข
สัปปุริสทานสูตรที่ 7 จบ

8. สัปปุริสสูตร
ว่าด้วยคุณประโยชน์ของสัตบุรุษ
[38] ภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเมื่อเกิดในตระกูล ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อ
เกื้อกูล เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก คือ
1. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่มารดาบิดา
2. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่บุตรภรรยา
3. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ทาส กรรมกร และคนใช้

เชิงอรรถ :
1 เลือกให้ในที่นี้หมายถึงเลือกสิ่งที่ไม่ดีออก แล้วถวายแต่สิ่งที่ดีด้วยการแสวงหาปฏิคาหก คือ พระทักขิไณย-
บุคคลและการตั้งความปรารถนาว่า ‘ถวายแก่ท่านรูปนี้จักมีผลมาก ถวายแก่ท่านรูปนี้จักไม่มีผลมาก’
(องฺ.อฏฺฐก.อ.3/37/256-257)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :297 }