เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 4.ทานวรรค 4.เขตตสูตร
3. เป็นผู้มีมิจฉาวาจา(เจรจาผิด)
4. เป็นผู้มีมิจฉากัมมันตะ(กระทำผิด)
5. เป็นผู้มีมิจฉาอาชีวะ(เลี้ยงชีพผิด)
6. เป็นผู้มีมิจฉาวายามะ(พยายามผิด)
7. เป็นผู้มีมิจฉาสติ(ระลึกผิด)
8. เป็นผู้มีมิจฉาสมาธิ(ตั้งจิตมั่นผิด)
ภิกษุทั้งหลาย ทานที่ให้ในสมณพราหมณ์ผู้ประกอบด้วยองค์ 8 ประการ
อย่างนี้ ย่อมไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่มีความรุ่งเรืองมาก ไม่มีความแพร่
หลายมาก
ภิกษุทั้งหลาย พืชที่หว่านลงในนาที่ประกอบด้วยองค์ 8 ประการ ย่อมมี
ผลมาก มีความชื่นใจมาก มีความเจริญมาก
นาที่ประกอบด้วยองค์ 8 ประการ เป็นอย่างไร
คือ นาในโลกนี้

1. เป็นที่ไม่ลุ่มและดอน 2. เป็นที่ไม่มีหินและกรวด
3. เป็นที่ไม่มีดินเค็ม 4. เป็นที่ไถลงลึกได้
5. เป็นที่มีทางน้ำเข้า 6. เป็นที่มีทางน้ำออก
7. เป็นที่มีเหมือง 8. เป็นที่มีคันนา

ภิกษุทั้งหลาย พืชที่หว่านลงในนาที่ประกอบด้วยองค์ 8 ประการอย่างนี้
ย่อมมีผลมาก มีความชื่นใจมาก มีความเจริญมาก
ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน ทานที่ให้ในสมณพราหมณ์ผู้ประกอบ
ด้วยองค์ 8 ประการ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความ
แพร่หลายมาก
สมณพราหมณ์ผู้ประกอบด้วยองค์ 8 ประการ เป็นอย่างไร
คือ สมณพราหมณ์ในโลกนี้
1. เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ(เห็นชอบ) 2. เป็นผู้มีสัมมาสังกัปปะ(ดำริชอบ)
3. เป็นผู้มีสัมมาวาจา(เจรจาชอบ) 4. เป็นผู้มีสัมมากัมมันตะ(กระทำชอบ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :290 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 4.ทานวรรค 4.เขตตสูตร
5. เป็นผู้มีสัมมาอาชีวะ(เลี้ยงชีพชอบ) 6. เป็นผู้มีสัมมาวายามะ(พยายามชอบ)
7. เป็นผู้มีสัมมาสติ(ระลึกชอบ) 8. เป็นผู้มีสัมมาสมาธิ(ตั้งจิตมั่นชอบ)
ภิกษุทั้งหลาย ทานที่ให้ในสมณพราหมณ์ผู้ประกอบด้วยองค์ 8 ประการ
อย่างนี้ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความแพร่หลายมาก
พืชที่สมบูรณ์ถูกหว่านลงในนาที่สมบูรณ์
เมื่อฝนตกต้องตามฤดูกาล ธัญชาติจะงอกงามได้
เพราะไม่มีศัตรูพืช1 มีความเจริญงอกงาม
มีความไพบูลย์ มีผลสมบูรณ์เต็มที่ ฉันใด
โภชนะที่สมบูรณ์2ที่บุคคลให้
ในสมณพราหมณ์ผู้มีศีลสมบูรณ์ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมนำมาซึ่งกุศลอันสมบูรณ์
เพราะกรรมที่เขาทำไว้นั้นสมบูรณ์แล้ว
เพราะฉะนั้น บุคคลผู้หวังกุศลอันสมบูรณ์
จงเป็นผู้สมบูรณ์ในกุศลนี้
พึงคบท่านผู้มีปัญญาสมบูรณ์
บุญสัมปทาทั้งหลายย่อมสำเร็จได้อย่างนี้ คือ
ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ3
ได้ความสมบูรณ์แห่งจิตแล้ว ทำกรรมให้บริบูรณ์
ได้ประโยชน์ที่สมบูรณ์
รู้โลกตามความเป็นจริงแล้ว
บรรลุทิฏฐิสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ)

เชิงอรรถ :
1 ไม่มีศัตรูพืช ในที่นี้หมายถึงแมลงและหนอนเป็นต้น (องฺ.อฏฺฐก.อ.3/34/255)
2 โภชนะที่สมบูรณ์ ในที่นี้หมายถึงโภชนะ 5 อย่าง คือ ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ (องฺ.อฏฺฐก.อ.
3/34/255)
3 ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ในที่นี้หมายถึงประกอบด้วยวิชชา 3 และจรณะ 15 (องฺ.อฏฺฐก.อ.3/34/
255)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :291 }