เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 2.อนุสยวรรค 10.นิททสวัตถุสูตร
เป็นอุทธังโสตอกนิฏฐคามี ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นบุคคลจำพวกที่ 7
ผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 7 จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
นิพพานสูตรที่ 9 จบ

10. นิททสวัตถุสูตร
ว่าด้วยนิททสวัตถุ
[20] ภิกษุทั้งหลาย นิททสวัตถุ1 (เหตุให้ได้ชื่อว่าผู้ไม่มีอายุ 10 ปี) 7 ประการนี้
นิททสวัตถุ 7 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการสมาทานสิกขา2 และได้ความรัก
ในการสมาทานสิกขาต่อไป3
2. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการใคร่ครวญธรรม4 และได้ความรัก
ในการใคร่ครวญธรรมต่อไป

เชิงอรรถ :
1 คำว่า นิททสวัตถุ นี้ แปลว่า ธรรมที่เป็นเหตุให้ชื่อว่า “นิททสะ” แปลว่า มีอายุไม่ถึง 10 ปี คำนี้เป็นคำที่
พวกเดียรถีย์ใช้เรียกนิครนถ์ผู้ประพฤติพรหมจรรย์กำหนด 12 ปี ถ้าตายลง เมื่อถึง 10 ปี เรียกผู้นั้นว่า
“นิททสะ” คือ เมื่อมาเกิดอีกจะมีอายุไม่ถึง 10 ปี และอาจไม่ถึง 9 ปี 1 ปี แต่พระผู้มีพระภาคทรงใช้คำนี้
หมายถึงพระขีณาสพในความหมายว่า “ไม่มีการเกิดอีก” ไม่ว่าจะเกิดมาเพียงวันเดียวหรือครู่เดียว โดยมี
เงื่อนไขว่าผู้นั้นต้องเพียบพร้อมด้วยธรรม 7 ประาร ส่วนเวลาประพฤติพรหมจรรย์มากน้อยไม่สำคัญ
ดู ข้อ 42-43 หน้า 62-66 ในเล่มนี้ประกอบด้วย (องฺ.สตฺตก.อ. 320/164-165, ที.ปา.อ. 3/331/
238) และดู ที.ปา. 11/331/222
2 สมาทานสิกขา ในที่นี้หมายถึงการบำเพ็ญไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญาให้บริบูรณ์ และถูกต้อง
(องฺ.สตฺตก.อ. 3/20/165, องฺ.สตฺตก.ฏีกา 3/20/192)
3 ต่อไป ในที่นี้หมายถึงกาลเวลาแห่งการบำเพ็ญที่ต่อเนื่องกันไม่ขาดระยะ มิได้หมายถึงภพในอนาคต
(องฺ.สตฺตก.อ. 3/20/165, องฺ.สตฺตก.ฏีกา 3/20/192)
4 การใคร่ครวญธรรม แปลจากบาลีว่า “ธมฺมนิสนฺติ” หมายถึงการเพ่งพินิจพิจารณาเห็นธรรม โดยความ
เป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา ดังนั้น คำว่า “ธมฺมนิสนฺติ” นี้จึงเป็นชื่อของวิปัสสนา (ความ
เห็นแจ้ง) (องฺ.สตฺตก.อ. 3/20/165, องฺ.สตฺตก.ฏีกา 3/20/192)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :29 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 2.อนุสยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
3. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการกำจัดความอยาก1 และได้ความ
รักในการกำจัดความอยากต่อไป
4. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการหลีกเร้น และได้ความรักในการ
หลีกเร้นต่อไป
5. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการปรารภความเพียร และได้ความรัก
ในการปรารภความเพียรต่อไป
6. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน2 และได้
ความรักในสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนต่อไป
7. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการแทงตลอดด้วยทิฏฐิ3และได้ความรัก
ในการแทงตลอดด้วยทิฏฐิต่อไป
ภิกษุทั้งหลาย นิททสวัตถุ 7 ประการนี้แล
นิททสวัตถุสูตรที่ 10 จบ
อนุสยวรรคที่ 2 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. ปฐมอนุสยสูตร 2. ทุติยอนุสยสูตร
3. กุลสูตร 4. ปุคคลสูตร
5. อุทกูปมาสูตร 6. อนิจจานุปัสสีสูตร
7. ทุกขานุปัสสีสูตร 8. อนัตตานุปัสสีสูตร
9. นิพพานสูตร 10. นิททสวัตถุสูตร


เชิงอรรถ :
1 การกำจัดความอยาก หมายถึงการกำจัดหรือการข่มตัณหาได้ด้วยอำนาจของภังคานุปัสสนาญาณ
(ญาณอันตามเห็นความสลาย) (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/20/165, องฺ.สตฺตก.ฏีกา 3/20/192) หรือด้วยอำนาจ
วิปัสสนาญาณมีวิราคานุปัสสนาเป็นต้น (ที.ปา.ฏีกา 331/326)
2 สติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน ในที่นี้หมายถึงสติและเนปักกปัญญากล่าวคือสติและสัมปชัญญะ (องฺ.สตฺตก.อ.
3/20/165, องฺ.สตฺตก.ฏีกา 3/20/193)
3 ในการแทงตลอดด้วยทิฏฐิ แปลจากบาลีว่า ทิฏฺฐิปฏิเวเธ หมายถึงมัคคทัสสนะ (การเห็นมรรค) กล่าว
คือ การเห็นแจ้งด้วยมัคคสัมมาทิฏฐิ (องฺ.สตฺตก.อ. 3/20/165, องฺ.สตฺตก.ฏีกา 3/20/193)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :30 }