เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 3.คหปติวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
พระศาสดาผู้ยอดเยี่ยมในโลก
ทรงทราบความดำริของเราแล้ว
จึงเสด็จมาหาเราด้วยมโนมยกายฤทธิ์1
พระพุทธเจ้าผู้ทรงยินดีในนิปปปัญจธรรม
ทรงแสดงมหาปุริสวิตกยิ่งกว่าความดำริของเรา2
ทรงแสดงนิปปปัญจธรรมแล้ว
เราได้รู้ทั่วถึงธรรมของพระองค์แล้ว
ยินดีในพระศาสนาอยู่
เราได้บรรลุวิชชา 3 โดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเราได้ทำตามแล้ว
อนุรุทธมหาวิตักกสูตรที่ 10 จบ
คหปติวรรคที่ 3 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. ปฐมอุคคสูตร 2. ทุติยอุคคสูตร
3. ปฐมหัตถกสูตร 4. ทุติยหัตถกสูตร
5. มหานามสูตร 6. ชีวกสูตร
7. ปฐมพลสูตร 8. ทุติยพลสูตร
9. อักขณสูตร 10. อนุรุทธมหาวิตักกสูตร


เชิงอรรถ :
1 มโนมยกายฤทธิ์ หมายถึงฤทธิ์ที่ทำให้กายเกิดขึ้นได้ด้วยอำนาจใจ กล่าวคือกายที่ใช้อำนาจจิตเนรมิตให้
เกิดขึ้นได้ และไปได้ (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/31/253)
2 ข้อความนี้หมายถึงท่านพระอนุรุทธะสามารถตรึกมหาปุริสวิตกได้เพียง 7 ประการ แต่พระพุทธเจ้าทรง
แสดงได้ถึง 8 ประการ (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/30/253)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :286 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 4.ทานวรรค 1.ปฐมทานสูตร
4. ทานวรรค
หมวดว่าด้วยทาน
1. ปฐมทานสูตร1
ว่าด้วยทาน สูตรที่ 1
[31] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ทาน 8 ประการนี้
ทาน 8 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. บุคคลบางคนให้ทานเพราะประสบเข้า2
2. บุคคลบางคนให้ทานเพราะความกลัว3
3. บุคคลบางคนให้ทานเพราะคิดว่า ‘เขาได้ให้แก่เราแล้ว’
4. บุคคลบางคนให้ทานเพราะคิดว่า ‘เขาจักให้แก่เรา’
5. บุคคลบางคนให้ทานเพราะคิดว่า ‘การให้ทานเป็นการดี’
6. บุคคลบางคนให้ทานเพราะคิดว่า ‘เราหุงหากินเองได้ ชนเหล่านี้หุง
หากินเองไม่ได้ การที่เราหุงหากินเองได้จะไม่ให้ทานแก่ชนเหล่านี้ผู้
หุงหากินเองไม่ได้ ไม่ควร’
7. บุคคลบางคนให้ทานด้วยคิดว่า ‘เมื่อเราให้ทานนี้ กิตติศัพท์อันงาม
ย่อมขจรไป’
8. บุคคลบางคนให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับจิตและปรุงแต่งจิต4
ภิกษุทั้งหลาย ทาน 8 ประการนี้แล
ปฐมทานสูตรที่ 1 จบ

เชิงอรรถ :
1 ดู ที.ปา.11/336/227
2 ให้ทานเพราะประสบเข้า หมายถึงเมื่อพบว่ามาหาก็ให้ทานได้ หรือให้รอสักครู่ก็ให้ทานได้ ไม่ให้ลำบากใจ
(องฺ.อฏฺฐก.อ.3/31/253)
3 ให้ทานเพราะกลัว ในที่นี้หมายถึงให้ทานเพราะกลัวถูกตำหนิติเตียน หรือกลัวอบายภูมิ (องฺ.อฏฺฐก.อ.
3/31/253)
4 ให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับจิตและปรุงแต่งจิต ในที่นี้หมายถึงให้ทานเพื่อประดับจิตในการเจริญ
สมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน เพราะว่าทานย่อมทำจิตให้อ่อนโยน เหมาะแก่การเจริญกัมมัฏฐาน
ทั้งสอง (องฺ.อฏฺฐก.อ.3/31/253)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :287 }