เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 3.คหปติวรรค 10.อนุรุทธมหาวิตักกสูตร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีปัญญา ไม่ใช่ของบุคคลผู้มี
ปัญญาทราม’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ยินดีในนิปปปัญจธรรม
ผู้พอใจในนิปปปัญจธรรม ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ยินดีในปปัญจธรรม ผู้พอใจ
ในปปัญจธรรม‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมแล่นไป
เลื่อมใส ตั้งมั่นในปปัญจนิโรธ1 ย่อมหลุดพ้น
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ยินดีในนิปปปัญจธรรม
ผู้พอใจในนิปปปัญจธรรม ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ยินดีในปปัญจธรรม ผู้พอใจใน
ปปัญจธรรม”
ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะได้อยู่จำพรรษาที่ปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจตีนั้นแล
ต่อไปอีก ท่านจากไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนัก
ก็ได้ทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยม2อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
ท่านพระอนุรุทธะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
ท่านพระอนุรุทธะผู้ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า

เชิงอรรถ :
1 ปปัญจนิโรธ หมายถึงบทคือนิพพาน (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/30/252)
2 ประโยชน์ยอดเยี่ยม ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผล หรืออริยผล อันเป็นที่สุดแห่งมรรคพรหมจรรย์ (องฺ.ทุก.อ.
2/5/7, ม.ม.อ. 2/82/80)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :285 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 3.คหปติวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
พระศาสดาผู้ยอดเยี่ยมในโลก
ทรงทราบความดำริของเราแล้ว
จึงเสด็จมาหาเราด้วยมโนมยกายฤทธิ์1
พระพุทธเจ้าผู้ทรงยินดีในนิปปปัญจธรรม
ทรงแสดงมหาปุริสวิตกยิ่งกว่าความดำริของเรา2
ทรงแสดงนิปปปัญจธรรมแล้ว
เราได้รู้ทั่วถึงธรรมของพระองค์แล้ว
ยินดีในพระศาสนาอยู่
เราได้บรรลุวิชชา 3 โดยลำดับ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเราได้ทำตามแล้ว
อนุรุทธมหาวิตักกสูตรที่ 10 จบ
คหปติวรรคที่ 3 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. ปฐมอุคคสูตร 2. ทุติยอุคคสูตร
3. ปฐมหัตถกสูตร 4. ทุติยหัตถกสูตร
5. มหานามสูตร 6. ชีวกสูตร
7. ปฐมพลสูตร 8. ทุติยพลสูตร
9. อักขณสูตร 10. อนุรุทธมหาวิตักกสูตร


เชิงอรรถ :
1 มโนมยกายฤทธิ์ หมายถึงฤทธิ์ที่ทำให้กายเกิดขึ้นได้ด้วยอำนาจใจ กล่าวคือกายที่ใช้อำนาจจิตเนรมิตให้
เกิดขึ้นได้ และไปได้ (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/31/253)
2 ข้อความนี้หมายถึงท่านพระอนุรุทธะสามารถตรึกมหาปุริสวิตกได้เพียง 7 ประการ แต่พระพุทธเจ้าทรง
แสดงได้ถึง 8 ประการ (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/30/253)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :286 }