เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 3.คหปติวรรค 10.อนุรุทธมหาวิตักกสูตร
เราว่า ‘เป็นผู้มีใจตั้งมั่น’ เป็นผู้มีปัญญา ไม่ปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึงรู้จักเราว่า
‘เป็นผู้มีปัญญา’ เป็นผู้ยินดีในนิปปปัญจธรรม ไม่ปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึงรู้จัก
เราว่า ‘เป็นผู้ยินดีในนิปปปัญจธรรม’
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มักน้อย ไม่ใช่ธรรมของบุคคล
ผู้มักมาก’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สันโดษ ไม่ใช่ธรรมของ
บุคคลผู้ไม่สันโดษ‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้สันโดษด้วย
จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารตามแต่จะได้
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สันโดษ ไม่ใช่ธรรมของบุคคล
ผู้ไม่สันโดษ’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สงัด ไม่ใช่ธรรมของบุคคล
ผู้ยินดีในการคลุกคลี‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่อย่างสงัด มีภิกษุ
ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชามหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ และสาวก
ของเดียรถีย์ทั้งหลายเข้าไปหา ในที่นั้น ภิกษุมีจิตน้อมไป โน้มไป โอนไป ตั้งอยู่ใน
วิเวก1 ยินดียิ่งในเนกขัมมะ2 ก็จำต้องกล่าวถ้อยคำอันเกี่ยวกับการส่งการรับโดยแท้
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สงัด ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้
ยินดีในการคลุกคล’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ปรารภความเพียร ไม่ใช่
ธรรมของบุคคลผู้เกียจคร้าน‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปรารภความ
เพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่น
มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย



เชิงอรรถ :
1 , 2 ดูเชิงอรรถที่ 2,3 อัฏฐกนิบาต ข้อ 28 หน้า 273 ในเล่มนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :283 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 3.คหปติวรรค 10.อนุรุทธมหาวิตักกสูตร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ปรารภความเพียร ไม่ใช่ธรรม
ของบุคคลผู้เกียจคร้าน’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรม
ของบุคคลผู้หลงลืมสติ‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสติ คือ
ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนเป็นอย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำ คำที่พูด
แม้นานได้
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ไม่ใช่ของบุคคลผู้
หลงลืมสติ’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของ
บุคคลผู้มีใจไม่ตั้งมั่น‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ1
บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของ
บุคคลผู้มีใจไม่ตั้งมั่น’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีปัญญา ไม่ใช่ธรรมของ
บุคคลผู้มีปัญญาทราม‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา คือ
ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ
ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ


เชิงอรรถ :
1 ดูความเต็มในข้อ 11 (เวรัญชสูตร) หน้า 222-223 ในเล่มนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :284 }