เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 3.คหปติวรรค 10.อนุรุทธมหาวิตักกสูตร
อนุรุทธะ เมื่อใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก 8 ประการนี้ และจักได้
ฌาน 4 อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดย
ไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก เมื่อนั้น อาหารคือคำข้าวที่ได้มาด้วยปลีแข้งจักปรากฏ
แก่เธอผู้สันโดษ อยู่ด้วยความยินดี ด้วยความไม่สะดุ้งกลัว ด้วยความอยู่ผาสุก
ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนข้าวสุกแห่งข้าวสาลีของคหบดีหรือบุตรคหบดี
ที่คัดกากออกแล้ว มีแกงหลายอย่าง มีกับหลายอย่าง ฉะนั้น
อนุรุทธะ เมื่อใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก 8 ประการนี้ และจักได้ฌาน 4
อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก
ได้โดยไม่ลำบาก เมื่อนั้น เสนาสนะคือโคนไม้จักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ อยู่ด้วย
ความยินดี ด้วยความไม่สะดุ้งกลัว ด้วยความอยู่ผาสุก ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน
เปรียบเหมือนเรือนยอดของคหบดีหรือบุตรคหบดีที่โบกทั้งภายในและภายนอกลมพัด
เข้าไม่ได้ มีบานประตูปิดมิดชิด หน้าต่างปิดสนิท ฉะนั้น
อนุรุทธะ เมื่อใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก 8 ประการนี้ และจักได้ฌาน 4
อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก
ได้โดยไม่ลำบาก เมื่อนั้น ที่นอนและที่นั่งที่ลาดด้วยหญ้าจักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ
อยู่ด้วยความยินดี ด้วยความไม่สะดุ้งกลัว ด้วยความอยู่ผาสุก ด้วยการก้าวลงสู่
นิพพาน เปรียบเหมือนบัลลังก์ของคหบดีหรือบุตรคหบดีที่ลาดด้วยผ้าโกเชาว์ ลาดด้วย
เครื่องลาดขนแกะสีขาว ลาดด้วยเครื่องลาดทำด้วยขนแกะลาย ลาดด้วยเครื่องลาด
อย่างดีทำด้วยหนังชะมด ข้างบนมีเพดาน มีหมอนสีแดงวางไว้ทั้ง 2 ข้าง ฉะนั้น
อนุรุทธะ เมื่อใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก 8 ประการนี้ และจักได้ฌาน 4
อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก
ได้โดยไม่ลำบาก เมื่อนั้น ยาดองด้วยน้ำมูตรเน่าจักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ อยู่ด้วย
ความยินดี ด้วยความไม่สะดุ้งกลัว ด้วยความอยู่ผาสุก ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน
เปรียบเหมือนเภสัชชนิดต่าง ๆ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อยของคหบดี
หรือบุตรคหบดี
อนุรุทธะ ถ้าอย่างนั้น เธอควรอยู่จำพรรษาที่ปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจตีนี้แล
ต่อไปเถิด”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :281 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 3.คหปติวรรค 10.อนุรุทธมหาวิตักกสูตร
ท่านพระอนุรุทธะทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสสอนท่านพระอนุรุทธะด้วยพระโอวาทนี้แล้ว
ทรงหายจากปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจตี ไปปรากฏที่เภสกฬามิคทายวัน เขตกรุง
สุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ แล้วรับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมหาปุริสวิตก 8 ประการแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ
มหาปุริสวิตก 8 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มักน้อย ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มักมาก
2. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สันโดษ ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ไม่สันโดษ
3. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สงัด ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ยินดีในการคลุกคลี
4. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ปรารภความเพียร ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้
เกียจคร้าน
5. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้หลงลืมสติ
6. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มีใจไม่ตั้งมั่น
7. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีปัญญา ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มีปัญญาทราม
8. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ยินดีในนิปปปัญจธรรม ผู้พอใจในนิปปปัญจ-
ธรรม ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ยินดีในปปัญจธรรม ผู้พอใจในปปัญจธรรม
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มักน้อย ไม่ใช่ธรรมของ
บุคคลผู้มักมาก‘ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มักน้อย
ไม่ปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึงรู้จักเราว่า ‘เป็นผู้มักน้อย’ เป็นผู้สันโดษ ไม่ปรารถนา
ว่า คนทั้งหลายพึงรู้จักเราว่า ‘เป็นผู้สันโดษ’ เป็นผู้สงัด ไม่ปรารถนาว่า ‘คนทั้งหลาย
พึงรู้จักเราว่า ‘เป็นผู้สงัด’ เป็นผู้ปรารภความเพียร ไม่ปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึง
รู้จักเราว่า ‘เป็นผู้ปรารภความเพียร’ เป็นผู้มีสติตั้งมั่น ไม่ปรารถนาว่า คนทั้งหลาย
พึงรู้จักเราว่า ‘เป็นผู้มีสติตั้งมั่น’ เป็นผู้มีใจตั้งมั่น ไม่ปรารถนาว่า คนทั้งหลายพึงรู้จัก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :282 }