เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 3.คหปติวรรค 10.อนุรุทธมหาวิตักกสูตร
ของบุคคลผู้มักน้อย1 ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มักมาก นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สันโดษ
ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ไม่สันโดษ นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สงัด2 ไม่ใช่ธรรมของบุคคล
ผู้ยินดีในการคลุกคลี3 นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ปรารภความเพียร ไม่ใช่ธรรมของ
บุคคลผู้เกียจคร้าน นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้หลง
ลืมสติ นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มีใจไม่ตั้งมั่น นี้เป็น
ธรรมของบุคคลผู้มีปัญญา ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มีปัญญาทราม”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความคิดของท่านพระอนุรุทธะด้วยพระทัยแล้ว
ทรงหายจากเภสกฬามิคทายวัน เขตกรุงสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ ไปปรากฏต่อ
หน้าท่านพระอนุรุทธะที่ปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจตี4 เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขน
ออกหรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว
ฝ่ายท่านพระอนุรุทธะถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มี
พระภาคจึงได้ตรัสกับท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า
“ดีละ ดีละ อนุรุทธะ ดีจริง อนุรุทธะ เธอตรึกมหาปุริสวิตกว่า ‘นี้เป็นธรรม
ของบุคคลผู้มักน้อย ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มักมาก นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สันโดษ
ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ไม่สันโดษ นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สงัด ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้
ยินดีในการคลุกคลี นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ปรารภความเพียร ไม่ใช่ธรรมของบุคคล
ผู้เกียจคร้าน นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้หลงลืมสติ

เชิงอรรถ :
1 มักน้อย ในที่นี้หมายถึงความมักน้อย 4 อย่าง คือ (1) มักน้อยในปัจจัย กล่าวคือ เมื่อคนอื่นให้ของมาก
ก็รับน้อย เมื่อเขาให้ของน้อย ก็รับน้อยกว่า (2) มักน้อยในการบรรลุ กล่าวคือ ไม่ให้บุคคลอื่นรู้การ
บรรลุธรรมของตน (3) มักน้อยในปริยัตติ กล่าวคือ แม้ตนเองเป็นผู้ทรงพระไตรปิฎก ก็ไม่ให้บุคคลอื่นรู้
(4) มักน้อยในธุดงค์ กล่าวคือ ไม่ให้บุคคลอื่นรู้การรักษาธุดงค์ของตน ดุจพระเถระผู้เป็นพี่น้องกัน 2 รูป
(องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/30/250)
2 สงัด ในที่นี้หมายถึงวิเวก 3 คือ กายวิเวก จิตตวิเวก และอุปธิวิเวก (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/30/250)
3 ยินดีในการคลุกคลี ในที่นี้หมายถึงยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ และความคลุกคลีด้วยกิเลส (องฺ.อฏฺฐก.อ.
3/30/251)
4 เจตี เป็นชื่อแคว้นหนึ่งซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของพวกเจ้าที่มีพระนามว่าเจตี (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/30/249)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :279 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 3.คหปติวรรค 10.อนุรุทธมหาวิตักกสูตร
นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มีใจไม่ตั้งมั่น นี้เป็นธรรม
ของบุคคลผู้มีปัญญา ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มีปัญญาทราม’ อนุรุทธะ ถ้าอย่างนั้น
เธอจงตรึกมหาปุริสวิตกข้อที่ 8 นี้ว่า ‘นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ยินดีในนิปปปัญจธรรม1
ผู้พอใจในนิปปปัญจธรรม ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ยินดีในปปัญจธรรม2 ผู้พอใจใน
ปปัญจธรรม’
อนุรุทธะ เมื่อใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก 8 ประการนี้ เมื่อนั้น เธอจัก
หวังได้ทีเดียวว่า ‘จักสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก
วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่’
อนุรุทธะ เมื่อใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก 8 ประการนี้ เมื่อนั้น เธอจัก
หวังได้ทีเดียวว่า ‘เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป จักบรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใส
ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิด
จากสมาธิอยู่’
อนุรุทธะ เมื่อใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก 8 ประการนี้ เมื่อนั้น เธอจัก
หวังได้ทีเดียวว่า ‘เพราะปีติจางคลายไป จักเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุข
ด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ
อยู่เป็นสุข’
อนุรุทธะ เมื่อใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก 8 ประการนี้ เมื่อนั้น เธอจัก
หวังได้ทีเดียวว่า ‘เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว
จักบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่’
อนุรทธะ เมื่อใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก 8 ประการนี้ และจักได้ฌาน 4
อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก
ได้โดยไม่ลำบาก เมื่อนั้น ผ้าบังสุกุลจีวรจักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ อยู่ด้วยความ
ยินดี ด้วยความไม่สะดุ้งกลัว ด้วยความอยู่ผาสุก ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบ
เหมือนหีบใส่ผ้าของคหบดี หรือบุตรคหบดีเต็มไปด้วยผ้าที่ย้อมด้วยสีต่าง ๆ ฉะนั้น

เชิงอรรถ :
1 นิปปปัญจธรรม หมายถึงนิพพาน (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/30/251)
2 ปปัญจธรรม หมายถึงตัณหา มานะ และทิฏฐิ (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/30/251)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :280 }