เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 3.คหปติวรรค 9.อักขณสูตร
อุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้ และแสดงธรรมที่จะนำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน
ให้ถึงการตรัสรู้ ที่พระสุคตทรงประกาศแล้ว และบุคคลนี้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท
และเป็นผู้มีปัญญา ไม่โง่เขลา ไม่เป็นคนเซอะ สามารถรู้เนื้อความแห่งสุภาษิตและ
ทุพภาษิตได้ ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นขณะและสมัยที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ประการ
เดียวเท่านั้น
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
เหล่าชนผู้ได้เกิดเป็นมนุษย์แล้ว
เมื่อพระตถาคตทรงประกาศสัทธรรมดีแล้ว
ยังไม่ได้ขณะ ชื่อว่าปล่อยขณะให้ล่วงไป
ชนหมู่มากกล่าวถึงกาลที่มิใช่ขณะว่าทำอันตรายต่อมรรค
พระตถาคตทั้งหลายทรงอุบัติขึ้นในโลกเพียงบางครั้งบางคราว
สิ่งที่มาพร้อมกันที่หาได้ยากในโลก คือ
การได้กำเนิดเป็นมนุษย์และการแสดงสัทธรรม
ชนผู้ใคร่ประโยชน์ ควรพยายามในกาลดังกล่าวมานั้น
บุคคลควรเข้าใจสัทธรรม
ขณะอย่าได้ล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย
เพราะคนผู้ล่วงเลยขณะไป
ย่อมยัดเยียดเศร้าโศกอยู่ในนรก
หากเขาปล่อยประโยชน์ให้เสียไป
ไม่บรรลุความเป็นผู้แน่นอนต่อสัทธรรมในโลกนี้ได้
จักเดือดร้อนในภายหลังสิ้นกาลนาน
เหมือนพ่อค้าผู้ปล่อยประโยชน์ให้เสียไป ฉะนั้น
คนผู้ถูกอวิชชาหุ้มห่อไว้ พรากจากสัทธรรม
จักเสวยสังสารวัฏคือชาติและมรณะสิ้นกาลนาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :277 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 3.คหปติวรรค 10.อนุรุทธมหาวิตักกสูตร
ส่วนชนเหล่าใดได้ความเป็นมนุษย์แล้ว
เมื่อพระตถาคตทรงประกาศสัทธรรมดีแล้ว
ได้ทำแล้ว จักทำ หรือกำลังทำตามพระดำรัสของพระศาสดา
ปฏิบัติตามแนวทางที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว
ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้รู้แจ้งขณะ
คือพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยมในโลก
บุคคลพึงเป็นผู้คุ้มครองสังวร1ที่พระตถาคตผู้มีพระจักษุ
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ทรงแสดงแล้ว
พึงเป็นผู้ไม่ชุ่มด้วยราคะ มีสติอยู่ทุกเมื่อ
ชนเหล่าใดตัดอนุสัยทั้งปวงที่ไปตามฝั่งคือบ่วงแห่งมาร
เป็นผู้ถึงความสิ้นอาสวะแล้ว
ชนเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ถึงฝั่ง2ในโลก
อักขณสูตรที่ 9 จบ

10. อนุรุทธมหาวิตักกสูตร
ว่าด้วยมหาปุริสวิตกของพระอนุรุทธะ
[30] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในป่าเภสกฬามิคทายวัน เขต
กรุงสุงสุมารคิระ3 แคว้นภัคคะ สมัยนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะอยู่ที่ปาจีนวังสทายวัน
ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความคิดอย่างนี้ว่า “นี้เป็นธรรม4

เชิงอรรถ :
1 สังวร ในที่นี้หมายถึงสีลสังวร (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/29/249)
2 ฝั่ง ในที่นี้หมายถึงพระนิพพาน (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/29/249)
3 สุงสุมารคิระ หมายถึงชื่อนครหลวงแห่งแคว้นภัคคะที่พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษาที่ 8 สุงสุมารคีรี ก็เรียก
4 ธรรม ในที่นี้หมายถึงโลกุตตรธรรม 9 (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/30/250) และดู ที.ปา. 11/358/269

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :278 }