เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 3.คหปติวรรค 8.ทุติยพลสูตร
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุขีณาสพมีกำลัง
8 ประการ จึงปฏิญญาความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า ‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว’
กำลังของภิกษุขีณาสพ 8 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สังขารทั้งปวงเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพในพระธรรมวินัยนี้เห็นว่าเป็น
สภาวะไม่เที่ยงด้วยปัญญาอันชอบ1ตามความเป็นจริง แม้ข้อที่
สังขารทั้งปวงเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเห็นว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยงด้วย
ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ
ที่ภิกษุขีณาสพอาศัยปฏิญญาความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า ‘อาสวะ
ของเราสิ้นแล้ว’
2. กามทั้งหลายเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเห็นว่าเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง
ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง แม้ข้อที่กามทั้งหลายเป็น
ธรรมที่ภิกษุขีณาสพเห็นว่าเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิงด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพที่ภิกษุขีณาสพ
อาศัยปฏิญญาความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า ‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว’
3. จิตของภิกษุขีณาสพเป็นธรรมชาติน้อมไป โน้มไป โอนไป ตั้งอยู่ใน
วิเวก2 ยินดียิ่งในเนกขัมมะ3 ปราศจากเงื่อนธรรม4อันเป็นที่ตั้งแห่ง
อาสวะโดยประการทั้งปวง แม้ข้อที่จิตของภิกษุขีณาสพเป็นธรรมชาติ
น้อมไป โน้มไป โอนไป ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดียิ่งในเนกขัมมะ ปราศจาก
เงื่อนธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง นี้ก็เป็นกำลัง
ของภิกษุขีณาสพ ที่ภิกษุขีณาสพอาศัยปฏิญญาความสิ้นอาสวะ
ทั้งหลายว่า ‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว’

เชิงอรรถ :
1 ปัญญาอันชอบ ในที่นี้หมายถึงมัคคปัญญา (องฺ.อฏฺฐก.อ.3/28/248)
2 วิเวก หมายถึงนิพพาน (องฺ.อฏฺฐก.อ.3/28/248) และดู องฺ.ทสก. (แปล) 24/90/204-206
3 เนกขัมมะ ในที่นี้หมายถึงบรรพชา (การบวช) (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/28/248)
4 ปราศจากเงื่อนธรรม ในที่นี้หมายถึงปราศจากตัณหา ไม่มีความยึดติดหรือหมดตัณหาแล้ว (องฺ.อฏฺฐก.อ.
3/28/248, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา 3/28/288)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :273 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 3.คหปติวรรค 9.อักขณสูตร
4. สติปัฏฐาน 4 เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว แม้ข้อที่
สติปัฏฐาน 4 เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว นี้ก็เป็น
กำลังของภิกษุขีณาสพที่ภิกษุขีณาสพอาศัยปฏิญญาความสิ้นอาสวะ
ทั้งหลายว่า ‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว’
5. อิทธิบาท 4 เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว ฯลฯ
6. อินทรีย์ 5 เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว ฯลฯ
7. โพชฌงค์ 7 เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว ฯลฯ
8. อริยมรรคมีองค์ 8 เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว แม้
ข้อที่อริยมรรคมีองค์ 8 เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว
นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพที่ภิกษุขีณาสพอาศัยปฏิญญาความ
สิ้นอาสวะทั้งหลายว่า ‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุขีณาสพมีกำลัง 8 ประการนี้แล จึงปฏิญญา
ความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า ‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว”
ทุติยพลสูตรที่ 8 จบ

9. อักขณสูตร
ว่าด้วยขณะที่ไม่สมควรอยู่ประพฤติพรหมจรรย์1
[29] ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับกล่าวว่า ‘ชาวโลกทำกิจในขณะ2
ชาวโลกทำกิจในขณะ’ แต่เขาไม่รู้ขณะหรือมิใช่ขณะเลย ภิกษุทั้งหลาย กาลที่ไม่ใช่
ขณะไม่ใช่สมัยที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ 8 ประการนี้
กาล 8 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อม
ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึก

เชิงอรรถ :
1 ดู ที.ปา. 11/342/233-234
2 ทำกิจในขณะ หมายถึงทำกิจทั้งหลายในเมื่อมีโอกาส (องฺ.อฏฺฐก.อ.3/29/248)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :274 }