เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 3.คหปติวรรค 6.ชีวกสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุบาสกชื่อว่าผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติ
เพื่อเกื้อกูลผู้อื่น ด้วยเหตุเพียงเท่าไร”
“ชีวก เมื่อใดแล อุบาสก ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา แต่ไม่ชักชวน
ผู้อื่นให้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ฯลฯ1 ตนเองเป็นผู้รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรม
สมควรแก่ธรรม แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เมื่อนั้น อุบาสก
ชื่อว่าผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุบาสกชื่อว่าผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและเพื่อเกื้อกูล
ผู้อื่น ด้วยเหตุเพียงเท่าไร”
๊ชีวก เมื่อใดแล อุบาสก ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา และชักชวนผู้อื่นให้
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และชักชวนผู้อื่นให้เป็นผู้
ถึงพร้อมด้วยศีล ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ และชักชวนผู้อื่นให้เป็นผู้ถึงพร้อม
ด้วยจาคะ ตนเองเป็นผู้ประสงค์จะเห็นภิกษุ และชักชวนผู้อื่นให้เห็นภิกษุ ตนเองเป็น
ผู้ประสงค์จะฟังสัทธรรม และชักชวนผู้อื่นให้ฟังสัทธรรม ตนเองเป็นผู้ทรงจำธรรมที่
ฟังแล้วไว้ได้ และชักชวนผู้อื่นให้ทรงจำธรรมไว้ได้ ตนเองเป็นผู้พิจารณาเนื้อความแห่ง
ธรรมที่ฟังแล้ว และชักชวนผู้อื่นให้พิจารณาเนื้อความแห่งธรรม ตนเองเป็นผู้รู้อรรถ
รู้ธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม และชักชวนผู้อื่นให้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
เมื่อนั้น อุบาสกชื่อว่าผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น ด้วยเหตุเพียง
เท่านี้แล”
ชีวกสูตรที่ 6 จบ

เชิงอรรถ :
1 ดูข้อความเต็มในข้อ 25 (มหานามสูตร) หน้า 269

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :271 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 3.คหปติวรรค 8.ทุติยพลสูตร
7. ปฐมพลสูตร
ว่าด้วยกำลัง สูตรที่ 1
[27] ภิกษุทั้งหลาย กำลัง 8 ประการนี้
กำลัง 8 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. เด็กมีการร้องไห้เป็นกำลัง
2. มาตุคามมีความโกรธเป็นกำลัง
3. โจรมีอาวุธเป็นกำลัง
4. พระราชามีอิสริยยศเป็นกำลัง
5. คนพาลมีการเพ่งโทษผู้อื่นเป็นกำลัง
6. บัณฑิตมีการไม่เพ่งโทษผู้อื่นเป็นกำลัง
7. คนผู้เป็นพหูสูตมีการพิจารณาเป็นกำลัง
8. สมณพราหมณ์มีขันติ1เป็นกำลัง
ภิกษุทั้งหลาย กำลัง 8 ประการนี้แล
ปฐมพลสูตรที่ 7 จบ

8. ทุติยพลสูตร2
ว่าด้วยกำลัง สูตรที่ 2
[28] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
“สารีบุตร ภิกษุขีณาสพมีกำลัง3เท่าไร จึงปฏิญญาความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า
‘อาสวะของเราสิ้นแล้ว”

เชิงอรรถ :
1 ขันติ ในที่นี้หมายถึงอธิวาสนขันติ (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/27/248)
2 ดู องฺ.ทสก. (แปล) 24/90/204-206
3 กำลัง ในที่นี้หมายถึงญาณพละ(กำลังแห่งญาณ) (องฺ.อฏฺฐก.อ.3/28/248)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :272 }