เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 3.คหปติวรรค 5.มหานามสูตร
ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณ
แล้วจากไป
ลำดับนั้น เมื่อหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีหลีกไปไม่นาน พระผู้มีพระภาครับ
สั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงทรงจำหัตถกอุบาสก
ชาวเมืองอาฬวีว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ 8 ประการ
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ 8 ประการ อะไรบ้าง คือ
หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี

1. เป็นผู้มีศรัทธา 2. เป็นผู้มีศีล
3. เป็นผู้มีหิริ 4. เป็นผู้มีโอตตัปปะ
5. เป็นพหูสูต 6. เป็นผู้มีจาคะ
7. เป็นผู้มีปัญญา 8. เป็นผู้มีความมักน้อย

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงทรงจำหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีว่าเป็นผู้
ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ 8 ประการนี้แล”
ทุติยหัตถกสูตรที่ 4 จบ

5. มหานามสูตร
ว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ
[25] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุง
กบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ลำดับนั้น เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะเสด็จเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่
สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลชื่อว่าอุบาสก ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มหานามะ เมื่อใดแล บุคคลเป็นผู้ถึง
พระพุทธเจ้าเป็นสรณะ เป็นผู้ถึงพระธรรมเป็นสรณะ เป็นผู้ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ
เมื่อนั้น บุคคลชื่อว่าอุบาสก ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :268 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 3.คหปติวรรค 5.มหานามสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุบาสกชื่อว่าผู้มีศีล ด้วยเหตุเพียงเท่าไร”
“มหานามะ เมื่อใดแล อุบาสกเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เป็นผู้เว้นขาด
จากการลักทรัพย์ เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เป็นผู้เว้นขาดจากการ
พูดเท็จ เป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ
ประมาท เมื่อนั้นอุบาสกชื่อว่าผู้มีศีล ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุบาสกชื่อว่าผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติ
เพื่อเกื้อกูลผู้อื่น ด้วยเหตุเพียงเท่าไร”
“มหานามะ เมื่อใดแล อุบาสก ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา แต่ไม่ชักชวน
ผู้อื่นให้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล แต่ไม่ชักชวนผู้อื่น
ให้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้เป็น
ผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ ตนเองเป็นผู้ประสงค์จะเห็นภิกษุ แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้เห็นภิกษุ
ตนเองเป็นผู้ประสงค์จะฟังสัทธรรม แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ฟังสัทธรรม ตนเองเป็นผู้
ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้ แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้ ตนเองเป็น
ผู้พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ฟังแล้ว แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้พิจารณาเนื้อความแห่งธรรม
ตนเองเป็นผู้รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม1 แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เมื่อนั้น อุบาสกชื่อว่าผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง
แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุบาสกชื่อว่าผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและเพื่อเกื้อกูล
ผู้อื่น ด้วยเหตุเพียงเท่าไร”
“มหานามะ เมื่อใดแล อุบาสก ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา และชักชวน
ผู้อื่นให้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และชักชวนผู้อื่น
ให้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ และชักชวนผู้อื่นให้เป็น
ผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ ตนเองเป็นผู้ประสงค์จะเห็นภิกษุ และชักชวนผู้อื่นให้เห็นภิกษุ

เชิงอรรถ :
1 ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม หมายถึงปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้นที่เหมาะแก่โลกุตตรธรรม 9 ประการ
(คือ มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 ) (องฺ.จตุกฺก.อ. 2/97/368)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :269 }