เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 3.คหปติวรรค 3.ปฐมหัตถกสูตร
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ 7 ประการ อะไรบ้าง คือ
หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี

1. เป็นผู้มีศรัทธา 2. เป็นผู้มีศีล
3. เป็นผู้มีหิริ 4. เป็นผู้มีโอตตัปปะ
5. เป็นพหูสูต 6. เป็นผู้มีจาคะ
7. เป็นผู้มีปัญญา

ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ว่า ท่านเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่
น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ 7 ประการนี้’
เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีได้กล่าวกับ
ข้าพระองค์ดังนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาว ไม่มีในตำแหน่งที่พระผู้มี
พระภาคทรงพยากรณ์นี้บ้างเลยหรือ’ ข้าพระองค์ตอบว่า ‘ผู้มีอายุ คฤหัสถ์ผู้นุ่ง
ผ้าขาว ไม่มีในตำแหน่งที่พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์นี้’ เขาตอบว่า ‘ท่านผู้เจริญ
ดีจริง คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาว ไม่มีในตำแหน่งที่พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์นี้เลย”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ ภิกษุ ภิกษุผู้เป็นกุลบุตรนั้นเป็นผู้มักน้อย
ไม่ปรารถนาให้ผู้อื่นรู้กุศลธรรมที่มีอยู่ในตน ภิกษุ ถ้าเช่นนั้น เธอจงทรงจำหัตถก-
อุบาสกชาวเมืองอาฬวีว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏนี้ คือ
ไม่ปรารถนาให้ผู้อื่นรู้กุศลธรรมที่มีอยู่ในตน เพราะความเป็นผู้มักนัอย”1

ปฐมหัตถกสูตรที่ 3

เชิงอรรถ :
1 คำว่า “ไม่ปรารถนาให้ผู้อื่นรู้กุศลธรรมที่มีอยู่ในตน เพราะความเป็นผู้มักน้อย” นี้เป็นธรรมที่น่า
อัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ 8 ที่ตรัสเพิ่มเติมภายหลัง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :266 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 3.คหปติวรรค 4.ทุติยหัตถกสูตร
4. ทุติยหัตถกสูตร
ว่าด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ของหัตถกอุบาสก สูตรที่ 2
[24] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัคคาฬวเจดีย์ เขตเมืองอาฬวี
ลำดับนั้น หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี1มีอุบาสกประมาณ 500 คนแวดล้อม
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มี
พระภาคจึงได้ตรัสกับหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีว่า
“หัตถกะ บริษัทของท่านนี้มากนัก ท่านสงเคราะห์บริษัทจำนวนมากนี้อย่างไร”
หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
สงเคราะห์บริษัทจำนวนมากนี้ด้วยสังคหวัตถุ 4 ประการ ที่พระผู้มีพระภาคได้
ทรงแสดงไว้แล้ว คือ ข้าพระองค์รู้ว่า ‘ผู้นี้ควรสงเคราะห์ด้วยทาน’ ก็สงเคราะห์
ด้วยทาน รู้ว่า ‘ผู้นี้ควรสงเคราะห์ด้วยคำพูดอันไพเราะ’ ก็สงเคราะห์ด้วยคำพูดอัน
ไพเราะ รู้ว่า ‘ผู้นี้ควรสงเคราะห์ด้วยการทำประโยชน์ให้’ ก็สงเคราะห์ด้วยการ
ทำประโยชน์ให้ รู้ว่า ‘ผู้นี้ควรสงเคราะห์ด้วยการวางตัวสม่ำเสมอ’ ก็สงเคราะห์ด้วย
การวางตัวสม่ำเสมอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โภคทรัพย์ในตระกูลของข้าพระองค์มี
อยู่พร้อม คนทั้งหลายย่อมเข้าใจคำพูดของข้าพระองค์ว่าควรฟัง ไม่เหมือนคำพูด
ของคนจน”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ หัตถกะ วิธีนี้ของท่านเป็นอุบายที่จะ
สงเคราะห์บริษัทจำนวนมากได้ จริงอยู่ ใครก็ตามที่สงเคราะห์บริษัทจำนวนมากได้
ในอดีตกาล ก็ล้วนแต่สงเคราะห์ด้วยสังคหวัตถุ 4 ประการนี้แล ใครก็ตามที่จัก
สงเคราะห์บริษัทจำนวนมากในอนาคตกาล ก็ล้วนแต่จักสงเคราะห์ด้วยสังคหวัตถุ
4 ประการนี้แล ใครก็ตามที่กำลังสงเคราะห์บริษัทจำนวนมากในปัจจุบัน ก็ล้วนแต่
สงเคราะห์ด้วยสังคหวัตถุ 4 ประการนี้แล”
หลังจากนั้น หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีที่พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด
ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่น

เชิงอรรถ :
1 อุบาสกชาวเมืองอาฬวี ในที่นี้หมายถึงอุบาสกที่เป็นอริยสาวกชั้นโสดาบัน สกทาคามี และอนาคามี
(องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/24/246)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :267 }