เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 3.คหปติวรรค 2.ทุตติยอุคคสูตร
1. เมื่อโยมกำลังเที่ยวชมอยู่ในสวนนาควัน ได้เห็นพระผู้มีพระภาคแต่
ที่ไกลเป็นครั้งแรก พร้อมกับการเห็นนั่นเอง โยมก็มีจิตเลื่อมใสต่อ
พระผู้มีพระภาค และส่างจากเมาสุรา นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์
ไม่เคยปรากฏประการที่ 1 ที่โยมมีอยู่
2. โยมมีจิตเลื่อมใสแล้ว เข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาค พระผู้มี
พระภาคทรงแสดงอนุปุพพีกถาแก่โยม คือ ทรงประกาศทานกถา
สีลกถา สัคคกถา กามาทีนวกถา เนกขัมมานิสังสกถา
เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่าโยมมีจิตควร อ่อน ปราศจาก
นิวรณ์ เบิกบาน ผ่องใส จึงทรงประกาศสามุกกังสิกเทศนา คือ
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจาก
มลทิน ได้เกิดแก่โยมบนที่นั่งนั้นเองว่า ‘สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น
เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา’ เปรียบเหมือน
ผ้าขาวสะอาด ปราศจากมลทิน ควรรับน้ำย้อมได้เป็นอย่างดี
ท่านผู้เจริญ โยมนั้นได้เห็นธรรม บรรลุธรรม รู้ธรรม หยั่งลงสู่ธรรม
ข้ามพ้นความสงสัย ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความแกล้วกล้า
ปราศจากความมีผู้อื่นเป็นปัจจัยในศาสนาของพระศาสดา ได้ถึง
พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะแล้ว และได้
สมาทานสิกขาบทที่มีพรหมจรรย์เป็นที่ 5 บนที่นั่งนั่นเอง นี้แล
เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ 2 ที่โยมมีอยู่
3. โยมนั้นมีภรรยาที่เป็นสาวรุ่น 4 คน โยมเข้าไปหาภรรยาเหล่านั้น
ถึงที่อยู่แล้วกล่าวกับพวกเธอว่า ‘น้องหญิงทั้งหลาย ฉันได้สมาทาน
สิกขาบทที่มีพรหมจรรย์เป็นที่ 5 แล้ว หญิงใดปรารถนา หญิงนั้น
จงใช้จ่ายโภคทรัพย์เหล่านี้ และจงทำบุญ หรือกลับไปยังตระกูล
ญาติของตนเถิด หรือมีความประสงค์ชาย ฉันก็จะมอบพวกเธอให้
แก่เขา’ เมื่อโยมกล่าวอย่างนี้แล้ว ภรรยาหลวงได้กล่าวกับโยมว่า
‘ขอท่านโปรดมอบดิฉันให้แก่ชายผู้มีชื่อนี้เถิด’ ลำดับนั้น โยมได้
เรียกชายคนนั้นมาใช้มือซ้ายจับภรรยา มือขวาจับเต้าน้ำหลั่งน้ำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :261 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 3.คหปติวรรค 2.ทุตติยอุคคสูตร
มอบให้ชายคนนั้นไป เมื่อบริจาคภรรยาสาวรุ่นให้เป็นทาน โยมไม่
รู้สึกว่าจิตแปรไป นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการ
ที่ 3 ที่โยมมีอยู่
4. ตระกูลของโยมมีโภคทรัพย์อยู่พร้อม และโภคทรัพย์เหล่านั้น โยม
ได้จำแนกแจกจ่ายกับผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม นี้แลป็นธรรมที่น่า
อัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ 4 ที่โยมมีอยู่
5. โยมเข้าไปนั่งใกล้ภิกษุใด ก็เข้าไปนั่งใกล้โดยเคารพเท่านั้น มิใช่
เข้าไปนั่งใกล้โดยไม่เคารพ หากท่านผู้มีอายุนั้นจะแสดงธรรมแก่โยม
โยมจะฟังโดยเคารพเท่านั้น มิใช่ฟังโดยไม่เคารพ หากท่านผู้มี
อายุนั้นจะไม่แสดงธรรมแก่โยม โยมก็จะแสดงธรรมแก่ท่าน นี้แล
เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ 5 ที่โยมมีอยู่
6. ไม่น่าอัศจรรย์เลย ที่เมื่อโยมนิมนต์พระสงฆ์มาแล้ว พวกเทวดาเข้า
มาหาโยม แล้วบอกว่า ‘ท่านคหบดี ภิกษุรูปโน้นเป็นอุภโต-
ภาควิมุต1 รูปโน้นเป็นปัญญาวิมุต รูปโน้นเป็นกายสักขี รูปโน้น
เป็นทิฏฐิปัตตะ รูปโน้นเป็นสัทธาวิมุต รูปโน้นเป็นธัมมานุสารี
รูปโน้นเป็นสัทธานุสารี รูปโน้นเป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม รูปโน้น
เป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม’ ท่านผู้เจริญ เมื่ออังคาสพระสงฆ์ โยมไม่
รู้สึกให้เกิดความคิดอย่างนี้ว่า ‘จะถวายแก่ท่านรูปนี้น้อย หรือจะ
ถวายแก่ท่านรูปนี้มาก’ แท้จริงโยมวางจิตสม่ำเสมอถวาย นี้แลป็น
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ 6 ที่โยมมีอยู่
7. ไม่น่าอัศจรรย์เลย ที่พวกเทวดาเข้ามาหาโยมแล้วบอกว่า ‘ท่าน
คหบดี ธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว’ เมื่อพวกเทวดา
กล่าวอย่างนี้แล้ว โยมได้กล่าวกับเทวดาเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘เทวดา
พวกท่านจะบอกอย่างนี้ หรือไม่บอกอย่างนี้ก็ตาม แท้จริง ธรรมก็

เชิงอรรถ :
1 ดูความหมายของบุคคล 7 จำพวก ตั้งแต่อุภโตภาควิมุตจนถึงสัทธานุสารี ในเชิงอรรถที่ 2-5 หน้า 20
และเชิงอรรถที่ 1-3 หน้า 21 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :262 }