เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 2.อนุสยวรรค 6.อนิจจานุปัสสีสูตร
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นบุคคลจำพวกที่ 1 ผู้ควร
แก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควร
แก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
2. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง มีสัญญาว่า
ไม่เที่ยง รู้ว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวงอยู่ ตั้งใจมั่นเนืองๆ
สม่ำเสมอ ไม่ขาดระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ เขามีปัญญาหยั่งรู้ความสิ้น
อาสวะและความสิ้นชีวิต ไม่ก่อนไม่หลังกัน ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น
บุคคลจำพวกที่ 2 ผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ
ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
3. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง มีสัญญาว่า
ไม่เที่ยง รู้ว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวงอยู่ ตั้งใจมั่นเนืองๆ
สม่ำเสมอ ไม่ขาดระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ
5 ประการสิ้นไป เขาจึงเป็นอันตราปรินิพพายี1 ภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นบุคคลจำพวกที่ 3 ผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของ
ต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอด
เยี่ยมของโลก

เชิงอรรถ :
1 อันตราปรินิพพายี หมายถึงพระอนาคามีผู้ปรินิพพานในระหว่าง คือเกิดในสุทธาวาสภพใดภพหนึ่งแล้ว
อายุยังไม่ถึงกึ่งของอายุผู้เกิดในชั้นสุทธาวาสก็ปรินิพพานเสียในระหว่าง แต่ละชั้นมี 3 จำพวก เช่นในชั้น
อวิหามีอายุ 1,000 กัป มี 3 จำพวก ดังนี้ คือ
พวกที่ 1 บรรลุพระอรหัตตผลในวันที่เกิด ถ้าไม่บรรลุในวันที่เกิดได้ก็บรรลุไม่เกินภายใน 100 กัป
พวกที่ 2 เมื่อไม่สามารถบรรลุพระอรหัตตผลในวันที่เกิดหรือบรรลุภายใน 100 กัปได้ ก็บรรลุภายใน
200 กัป
พวกที่ 3 เมื่อไม่สามารถบรรลุพระอรหัตตผลภายใน 200 กัปได้ ก็บรรลุไม่เกินภายใน 400 กัป
ส่วนในสุทธาวาสชั้นอื่น ๆ คือ ชั้นอตัปปาที่มีอายุ 2,000 กัป ชั้นสุทัสสาที่มีอายุ 4,000 กัป ชั้นสุทัสสี
ที่มีอายุ 8,000 กัป ชั้นอกนิฏฐาที่มีอายุ 16,000 กัป ก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้ (องฺ.ติก.อ.2/88/243) และ
ดู อภิ.วิ. (แปล) 35/1027/673-674 ประกอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :25 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 2.อนุสยวรรค 6.อนิจจานุปัสสีสูตร
4. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ จึงเป็นอุปหัจจปรินิพพายี1 ฯลฯ
5. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ จึงเป็นอสังขารปรินิพพายี2 ฯลฯ
6. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ จึงเป็นสสังขารปรินิพพายี3 ฯลฯ
7. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง มีสัญญาว่า
ไม่เที่ยง รู้ว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวงอยู่ ตั้งใจมั่นเนืองๆ
สม่ำเสมอ ไม่ขาดระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ
5 ประการสิ้นไป เขาจึงเป็นอุทธังโสตอกนิฏฐคามี4 ภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นบุคคลจำพวกที่ 7 ผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่
ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอัน
ยอดเยี่ยมของโลก
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 7 จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม
ของโลก

อนิจจานุปัสสีสูตรที่ 6 จบ

เชิงอรรถ :
1 อุปหัจจปรินิพพายี หมายถึงพระอนาคามีผู้เกิดในสุทธาวาสภพใดภพหนึ่งแล้ว มีอายุพ้นกึ่งจึงปรินิพพาน
(องฺ.ติก.อ. 2/88/243) เช่น ในชั้นอวิหาซึ่งมีอายุ 1,000 กัป พระอนาคามีจำพวกนี้มีอายุพ้นกึ่งคือ
พ้น 500 กัปแล้วจึงปรินิพพาน ส่วนในสุทธาวาสชั้นอื่นที่เหลือซึ่งมีอายุแตกต่างกันไปก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้
2 อสังขารปรินิพพายี หมายถึงพระอนาคามีผู้บรรลุพระอรหัตปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรมาก (องฺ.ติก.อ.
2/88/243)
3 สสังขารปรินิพพายี หมายถึงพระอนาคามีผู้เกิดในสุทธาวาสภพใดภพหนึ่งบรรลุพระอรหัตปรินิพพาน
โดยต้องใช้ความเพียรมาก (องฺ.ติก.อ. 2/88/243)
4 อุทธังโสตอกนิฏฐคามี หมายถึงพระอนาคามีผู้มีกระแสสูงขึ้นไปจนถึงชั้นอกนิฏฐภพคือเกิดในสุทธา-
วาสภพใดภพหนึ่งแล้วก็จะเกิดเลื่อนต่อไปจนถึงชั้นอกนิฏฐภพ แล้วจึงปรินิพพานในภพนั้น (องฺ.ติก.อ. 2/
88/242)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :26 }