เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 2.มหาวรรค 9.ปหาราทสูตร
8. มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ขนาดใหญ่ คือ ปลาติมิติมิงคละ
ปลาติมิรมิงคละ อสูร นาค คนธรรพ์ มีลำตัว 100 โยชน์ก็มี
มีลำตัว 200 โยชน์ก็มี มีลำตัว 300 โยชน์ก็มี มีลำตัว
400 โยชน์ก็มี มีลำตัว 500 โยชน์ก็มี การที่มหาสมุทรเป็นที่อยู่
อาศัยของสัตว์ขนาดใหญ่ คือ ปลาติมิติมิงคละ ปลาติมิรมิงคละ
อสูร นาค คนธรรพ์ มีลำตัว 100 โยชน์ก็มี ฯลฯ มีลำตัว
300 โยชน์ก็มี มีลำตัว 400 โยชน์ก็มี มีลำตัว 500 โยชน์ก็มี
นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ 8 ในมหาสมุทรที่
พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในมหาสมุทรมีสิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ 8
ประการนี้แล ที่พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุทั้งหลายต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้บ้างไหม”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ปหาราทะ ภิกษุทั้งหลายต่างพากันยินดีใน
ธรรมวินัยนี้”
ท้าวปหาราทะจอมอสูรทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในธรรมวินัยนี้มี
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏเท่าไร ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากัน
ยินดีในธรรมวินัย”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ปหาราทะ ในธรรมวินัยนี้ มีธรรมที่น่าอัศจรรย์
ไม่เคยปรากฏ 8 ประการ ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัย
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ 8 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ธรรมวินัยนี้มีการศึกษาไปตามลำดับ1 มีการบำเพ็ญไปตามลำดับ2
มีการปฏิบัติไปตามลำดับ3 ไม่ใช่มีการบรรลุอรหัตตผลโดยทันที

เชิงอรรถ :
1 การศึกษาไปตามลำดับในที่นี้หมายถึงการศึกษาสิกขา 3 คือ ศีล สมาธิ และปัญญา (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/19/
244)
2 การบำเพ็ญไปตามลำดับ ในที่นี้หมายถึงการบำเพ็ญธุดงค์ 13 (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/19/244)
3 การปฏิบัติไปตามลำดับ ในที่นี้หมายถึง อนุปัสสนา 9 มหาวิปัสสนา 18 อารัมมณวิภัตติ 38 และ
โพธิปักขิยธรรม 37 (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/19/244)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :248 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 2.มหาวรรค 9.ปหาราทสูตร
เหมือนมหาสมุทรต่ำไปโดยลำดับ ลาดไปโดยลำดับ ลึกลงไปโดย
ลำดับ ไม่ลึกชันดิ่งไปทันที การที่ธรรมวินัยนี้มีการศึกษาไปตาม
ลำดับ มีการบำเพ็ญไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ ไม่ใช่
มีการบรรลุอรหัตตผลโดยทันที นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคย
ปรากฏประการที่ 1 ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่าง
พากันยินดีในธรรมวินัยนี้
2. สาวกทั้งหลายของเราย่อมไม่ละเมิดสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้ แม้เพราะ
เหตุแห่งชีวิต เหมือนมหาสมุทรที่มีปกติคงที่ ไม่ล้นฝั่ง การที่สาวก
ทั้งหลายของเราไม่ละเมิดสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้ แม้เพราะเหตุแห่ง
ชีวิต นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ 2 ใน
ธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้
3. บุคคลใดผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม ไม่สะอาด มีความประพฤติที่
น่ารังเกียจ มีการงานปกปิด ไม่ใช่สมณะ แต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ
ไม่ใช่พรหมจารี1 แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี เน่าภายใน ชุ่มด้วย
ราคะ เป็นเหมือนหยากเยื่อ สงฆ์ก็ไม่อยู่ร่วมกับบุคคลนั้น ย่อม
ประชุมกันนำเธอออกไปทันที แม้เธอจะนั่งอยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์
ก็ยังห่างไกลจากสงฆ์ และสงฆ์ก็ห่างไกลจากเธอ เหมือนมหาสมุทร
ไม่อยู่ร่วมกับซากศพ ย่อมซัดซากศพขึ้นฝั่งจนถึงบนบกทันที การที่
บุคคลใดผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม ไม่สะอาด มีความประพฤติที่
น่ารังเกียจ มีการงานปกปิด ไม่ใช่สมณะ แต่ปฏิญญาว่าเป็น
สมณะ ไม่ใช่พรหมจารี แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี เน่าภายใน
ชุ่มด้วยราคะ เป็นเหมือนหยากเยื่อ สงฆ์ไม่อยู่ร่วมกับบุคคลนั้น
ย่อมประชุมกันนำเธอออกไปทันที แม้เธอจะนั่งอยู่ในท่ามกลาง
ภิกษุสงฆ์ ก็ยังห่างไกลจากสงฆ์ และสงฆ์ก็ห่างไกลจากเธอ นี้เป็น

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 1 สัตตกนิบาต ข้อ 72 หน้า 159 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :249 }