เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 2.มหาวรรค 6.ทูเตยยสูตร
ผู้ให้มีความตระหนี่เป็นมลทิน
บาปธรรมเป็นมลทินทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
มลทินที่ยิ่งกว่ามลทินนั้นคืออวิชชา
มลสูตรที่ 5 จบ

6. ทูเตยยสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของทูต1
[16] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 8 ประการ ควรทำหน้าที่ทูตได้
ธรรม 8 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. รู้จักฟัง
2. สามารถพูดให้ผู้อื่นฟังได้
3. ใฝ่ศึกษา
4. ทรงจำได้ดี
5. เป็นผู้รู้ได้เข้าใจชัด2
6. สามารถพูดให้ผู้อื่นเข้าใจได้
7. ฉลาดในสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์
8. ไม่ก่อความทะเลาะวิวาท
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 8 ประการนี้แล ควรทำหน้าที่ทูตได้
ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยธรรม 8 ประการ ควรทำหน้าที่ทูตได้

เชิงอรรถ :
1 ดู วิ.จู. (แปล) 7/347/208-209, ขุ.ธ. 25/241-243/59
2 เป็นผู้รู้ได้เข้าใจชัด หมายถึงเป็นผู้รู้ความหมายของสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ (องฺ.อฏฺฐก.อ.
3/16/239)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :242 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 2.มหาวรรค 6.ทูเตยยสูตร
ธรรม 8 ประการ อะไรบ้าง คือ
ในธรรมวินัยนี้ สารีบุตร
1. รู้จักฟัง
2. สามารถพูดให้ผู้อื่นฟังได้
3. ใฝ่ศึกษา
4. ทรงจำได้ดี
5. เป็นผู้รู้ได้เข้าใจชัด
6. สามารถพูดให้ผู้อื่นเข้าใจได้
7. ฉลาดในสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์
8. ไม่ก่อความทะเลาะวิวาท
ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยธรรม 8 ประการนี้แล ควรทำหน้าที่
ทูตได้
ภิกษุผู้เข้าสู่ชุมชนที่โต้เถียงกันอย่างรุนแรง
ก็ไม่สะทกสะท้าน ไม่ทำคำพูดให้เสียหาย
ไม่ปกปิดข่าวสาส์น ชี้แจงอย่างไม่มีข้อสงสัย
ถูกย้อนถาม ก็ไม่โกรธ
ภิกษุผู้มีลักษณะเช่นนั้นแล ควรทำหน้าที่ทูตได้
ทูเตยยสูตรที่ 6 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :243 }