เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 2.มหาวรรค 4.อัสสขฬุงกสูตร
6. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้ที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทงด้วย
ประตักเตือนอยู่ (ไม่คำนึงถึงนายสารถี) ไม่คำนึงถึงประตัก กัด
บังเหียน1 หลีกไปตามความประสงค์ ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้
เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็นโทษของม้ากระจอกประการที่ 6
7. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้ที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทงด้วย
ประตักเตือนอยู่ ไม่ก้าวไป ไม่ถอยหลัง ยืนทื่ออยู่เหมือนเสาเขื่อน
ณ ที่ตรงนั้นนั่นเอง ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็น
โทษของม้ากระจอกประการที่ 7
8. ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้ที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทงด้วย
ประตักเตือนอยู่ คุกเท้าหน้าและเท้าหลังลงหมอบทับเท้าทั้ง 4 อยู่
ที่ตรงนั้นนั่นเอง ม้ากระจอกบางตัวในโลกนี้เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็น
โทษของม้ากระจอกประการที่ 8
ภิกษุทั้งหลาย ม้ากระจอก 8 จำพวก และโทษของม้ากระจอก 8 ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอก 8 จำพวก และโทษของคนกระจอก 8 ประการ
อะไรบ้าง คือ
1. ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้โจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุรูปที่ถูกพวก
ภิกษุโจทด้วยอาบัตินั้น ย่อมอำพรางอาบัติไว้ เพราะระลึกไม่ได้ว่า
‘ผมระลึกไม่ได้ ผมระลึกไม่ได้’ เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่า
เหมือนม้ากระจอกที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทงด้วยประตัก
เตือนอยู่ ก็ถอยหลัง ดันรถให้กลับหลัง ฉะนั้น คนกระจอกบางคน
ในธรรมวินัยนี้เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็นโทษของคนกระจอกประการที่ 1
2. ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุรูปที่ถูกพวกภิกษุโจทด้วย
อาบัตินั้น โต้ตอบภิกษุผู้เป็นโจทก์ว่า ‘การกล่าวของท่านผู้เป็น
คนพาล ไม่เฉียบแหลม จะมีประโยชน์อะไรเล่า ท่านเองย่อมเข้าใจ

เชิงอรรถ :
1 บังเหียน หมายถึงเครื่องบังคับม้าทำด้วยเหล็ก หรือไม้ใส่ผ่าปากม้า (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/14/239)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :238 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 2.มหาวรรค 4.อัสสขฬุงกสูตร
สิ่งที่ควรพูด’ เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนม้ากระจอก
ที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ ก็หกหลัง
ดัดทูบให้หัก ฉะนั้น คนกระจอกบางคนในธรรมวินัยนี้เป็นอย่างนี้ก็มี
นี้เป็นโทษของคนกระจอกประการที่ 2
3. ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุรูปที่ถูกพวกภิกษุโจทด้วย
อาบัตินั้น กลับยกอาบัติขึ้นปรับภิกษุผู้เป็นโจทก์ว่า ‘ท่านเองก็ต้อง
อาบัติชื่อนี้ ท่านจงทำคืนเสียก่อน’ เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้
ว่าเหมือนม้ากระจอกที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทงด้วยประตัก
เตือนอยู่ ก็ยกขาขึ้นตะกุยงอนรถ ถีบงอนรถ ฉะนั้น คนกระจอก
บางคนในธรรมวินัยนี้เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็นโทษของคนกระจอก
ประการที่ 3
4. ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุรูปที่ถูกพวกภิกษุโจทด้วย
อาบัตินั้น พูดกลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง
และไม่พอใจ เรากล่าวเปรียบบุคคลประเภทนี้ว่าเหมือนม้ากระจอก
ที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ ก็เดิน
ผิดทาง ทำให้รถไปผิดทาง ฉะนั้น คนกระจอกบางคนในธรรมวินัย
นี้เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็นโทษของคนกระจอกประการที่ 4
5. ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุรูปที่ถูกพวกภิกษุโจทด้วย
อาบัตินั้น กลับแกว่งแขนในท่ามกลางสงฆ์ เรากล่าวเปรียบบุคคล
ประเภทนี้ว่าเหมือนม้ากระจอกที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทง
ด้วยประตักเตือนอยู่ เชิดกายด้านหน้า เผ่นขึ้นไป ฉะนั้น คนกระจอก
บางคนในธรรมวินัยนี้เป็นอย่างนี้ก็มี นี้เป็นโทษของคนกระจอก
ประการที่ 5
6. ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุรูปที่ถูกพวกภิกษุโจท
ด้วยอาบัตินั้น ไม่เอื้อเฟื้อสงฆ์ ไม่เอื้อเฟื้อภิกษุผู้เป็นโจทก์ ทั้งที่มี
อาบัติติดตัวอยู่ ก็หลีกไปตามความประสงค์ เรากล่าวเปรียบบุคคล
ประเภทนี้ว่าเหมือนม้ากระจอกที่นายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ ถูกแทง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :239 }