เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 2.มหาวรรค 2.สีหสูตร
พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็น
คนไม่ผุดไม่เกิด แสดงธรรมเพื่อการไม่ผุดไม่เกิด ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’
นี้แลมีมูลอยู่
ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดมเป็นคนเบาใจ แสดงธรรมเพื่อ
ความเบาใจ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นั้นมีมูลอยู่ เป็นอย่างไร
คือ เพราะเราเป็นคนเบาใจด้วยความเบาใจอย่างยิ่ง แสดงธรรมเพื่อความ
เบาใจ และแนะนำเหล่าสาวกตามแนวนั้น ข้อที่บุคคลกล่าวหาเราว่า ‘พระสมณโคดม
เป็นคนเบาใจ แสดงธรรมเพื่อความเบาใจ ทั้งแนะนำพวกสาวกตามแนวนั้น’ นี้แล
มีมูลอยู่”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสตอบอย่างนี้แล้ว สีหเสนาบดีได้กราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ1 ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้น
ไปจนตลอดชีวิต”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สีหะ ท่านใคร่ครวญก่อนแล้วจึงตัดสินใจเถิด คนที่
มีชื่อเสียงเช่นท่าน ต้องใคร่ครวญให้รอบคอบก่อนจึงเป็นการดี”
สีหเสนาบดีกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ปลาบปลื้มชื่นใจ
อย่างยิ่ง เพราะพระดำรัสที่พระองค์ตรัสว่า ‘สีหะ ท่านใคร่ครวญก่อนแล้วจึงตัดสินใจเถิด
คนที่มีชื่อเสียงเช่นท่าน ต้องใคร่ครวญให้รอบคอบก่อนจึงเป็นการดี’ เพราะพวก
อัญเดียรถีย์ได้ข้าพระองค์เป็นสาวกแล้ว ก็ป่าวประกาศไปทั่วกรุงเวสาลีว่า ‘สีห-
เสนาบดีเป็นสาวกของพวกเรา’ แต่พระองค์กลับตรัสว่า ‘ท่านใคร่ครวญก่อนแล้ว
จึงตัดสินใจเถิด คนที่มีชื่อเสียงเช่นท่าน ต้องใคร่ครวญให้รอบคอบก่อนจึงเป็น การดี’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ครั้งที่ 2 ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคพร้อมทั้ง
พระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็น
อุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิตเถิด”


เชิงอรรถ :
1 ดูความเต็มในข้อ 11 (เวรัญชสูตร) หน้า 225 ในเล่มนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :231 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 2.มหาวรรค 2.สีหสูตร
ทรงสนับสนุนให้อุปถัมภ์ลัทธิที่เคยนับถือมาก่อน
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สีหะ ตระกูลของท่านเคยเป็นที่ต้อนรับพวกนิครนถ์
มานาน ดังนั้น ท่านพึงใส่ใจว่าควรให้บิณฑบาตแก่พวกนิครนถ์ผู้เข้าไปตระกูล
ต่อไปเถิด”
สีหเสนาบดีกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ปลาบปลื้มชื่นใจ
อย่างยิ่งเพราะพระดำรัสที่พระองค์ตรัสว่า ‘สีหะ ตระกูลของท่านเคยเป็นที่ต้อนรับ
พวกนิครนถ์มานาน ดังนั้น ท่านพึงใส่ใจว่าควรให้บิณฑบาตแก่พวกนิครนถ์ผู้เข้าไป
ตระกูลต่อไปเถิด’ ข้าพระองค์ได้ฟังมาดังนี้ว่า พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า ‘ควรให้
ทานแก่เราเท่านั้น ไม่ควรให้ทานแก่ศาสดาอื่น ควรให้ทานแก่สาวกของเราเท่านั้น
ไม่ควรให้ทานแก่สาวกของศาสดาอื่น ทานที่ให้แก่เราเท่านั้นมีผลมาก ทานที่ให้แก่
ศาสดาอื่นไม่มีผลมาก ทานที่ให้แก่สาวกของเราเท่านั้นมีผลมาก ทานที่ให้แก่สาวก
ของศาสดาอื่นไม่มีผลมาก’ แต่พระผู้มีพระภาคกลับทรงชักชวนให้ข้าพระองค์ให้ทาน
แก่พวกนิครนถ์ ข้าพระองค์จะรู้เวลาในเรื่องนี้เอง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ครั้งที่ 3
ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอนุปุพพีกถาแก่สีหเสนาบดี คือ ทรงประกาศ
1. ทานกถา (เรื่องทาน)
2. สีลกถา (เรื่องศีล)
3. สัคคกถา (เรื่องสวรรค์)
4. กามาทีนวกถา (เรื่องโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่งกาม)1
5. เนกขัมมานิสังสกถา (เรื่องอานิสงส์แห่งการออกจากกาม)

เชิงอรรถ :
1 แปลมาจากคำว่า กามานํ อาทีนวํ โอการํ สงฺกิเลสํ (องฺ.อฏฺฐก. 23/12/155)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :232 }