เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 1.เมตตาวรรค 10.การัณฑวสูตร
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงกำจัดบุคคลนี้ออกไป จงกำจัดบุคคลนี้ออกไป คนชนิดนี้ต้องขับออก เป็นบุตร
นอกคอก กวนใจเสียจริง ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ มีการก้าวไป
การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ
บาตรและจีวรเหมือนภิกษุผู้เจริญอื่น ๆ ตราบเท่าที่ภิกษุทั้งหลายยังไม่เห็นอาบัติ
ของเขา แต่เมื่อใด ภิกษุทั้งหลายเห็นอาบัติของเขา เมื่อนั้น ภิกษุทั้งหลายย่อมรู้จัก
เขาอย่างนี้ว่า ‘ผู้นี้เป็นผู้ประทุษร้ายสมณะ เป็นสมณะแกลบ เป็นสมณะหยากเยื่อ’
ครั้นรู้จักเขาอย่างนี้แล้ว จึงนาสนะ1เขาออกไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคิดว่า
‘ภิกษุนี้อย่าได้ประทุษร้ายภิกษุที่ดีอื่น ๆ’
ภิกษุทั้งหลาย หญ้าที่ทำลายต้นข้าว มีเมล็ดเหมือนข้าวลีบ มีเมล็ดเหมือน
ข้าวตายนึ่ง พึงเกิดขึ้นในนาข้าวที่สมบูรณ์ รากของมันก็เป็นเช่นเดียวกับข้าวที่ดีอื่นๆ
ก้านของมันก็เป็นเช่นเดียวกับข้าวที่ดีอื่นๆ ใบของมันก็เป็นเช่นเดียวกับข้าวที่ดีอื่นๆ
ตราบเท่าที่มันยังไม่ออกรวง แต่เมื่อใด มันออกรวง เมื่อนั้น ชาวนาย่อมรู้จักมัน
อย่างนี้ว่า ‘หญ้านี้ทำลายต้นข้าว มีเมล็ดเหมือนข้าวลีบ มีเมล็ดเหมือนข้าวตายนึ่ง’
ครั้นรู้จักมันอย่างนี้แล้ว ชาวนาจึงถอนมันขึ้นพร้อมทั้งราก แล้วทิ้งให้พ้นจากที่นา
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคิดว่า ‘หญ้าชนิดนี้อย่าได้ทำลายข้าวที่ดีอื่น ๆ’ แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล มีการก้าวไป
การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ
บาตรและจีวรเหมือนภิกษุผู้เจริญอื่น ๆ ตราบเท่าที่ภิกษุทั้งหลายยังไม่เห็นอาบัติ
ของเขา แต่เมื่อใด ภิกษุทั้งหลายเห็นอาบัติของเขา เมื่อนั้น ภิกษุทั้งหลายย่อมรู้จัก
เขาอย่างนี้ว่า ‘ผู้นี้เป็นผู้ประทุษร้ายสมณะ เป็นสมณะแกลบ เป็นสมณะหยากเยื่อ’
ครั้นรู้จักเขาอย่างนี้แล้ว จึงนาสนะเขาออกไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคิดว่า ‘ภิกษุ
นี้อย่าได้ประทุษร้ายภิกษุที่ดีอื่น ๆ’
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลฝัดข้าวเปลือกกองใหญ่ ข้าวเปลือกที่เป็นตัวแกร่ง
ในข้าวเปลือกกองใหญ่นั้น ก็เป็นกองอยู่ส่วนหนึ่ง ส่วนข้าวเปลือกที่ลีบ ก็ถูกลมพัดไป

เชิงอรรถ :
1 นาสนะ หมายถึงวิธีลงโทษพระ มี 3 วิธี คือ (1) ลิงคนาสนะ(ให้ฉิบหายจากเพศบรรพชิต) (2) ทัณฑ-
กัมมนาสนะ(ให้ฉิบหายด้วยการลงโทษ) (3) สังวาสนาสนะ(ให้ฉิบหายจากสังวาส) (วิ.อ. 3/321/444)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :216 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 1.เมตตาวรรค 10.การัณฑวสูตร
อยู่อีกส่วนหนึ่ง เจ้าของใช้ไม้กวาดกวาดข้าวที่ลีบนั้นออกไปโดยมาก ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะคิดว่า ‘มันอย่าได้ทำลายข้าวเปลือกที่ดีอื่น ๆ’ แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล มีการก้าวไป
การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ
บาตรและจีวร เหมือนภิกษุผู้เจริญอื่น ๆ ตราบเท่าที่ภิกษุทั้งหลายยังไม่เห็นอาบัติ
ของเขา แต่เมื่อใด ภิกษุทั้งหลายเห็นอาบัติของเขา เมื่อนั้น ภิกษุทั้งหลายย่อมรู้จัก
เขาอย่างนี้ว่า ‘ผู้นี้เป็นผู้ประทุษร้ายสมณะ เป็นสมณะแกลบ เป็นสมณะหยากเยื่อ’
ครั้นรู้จักเขาอย่างนี้แล้ว จึงนาสนะเขาออกไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคิดว่า ‘ภิกษุ
นี้อย่าได้ประทุษร้ายภิกษุที่ดีอื่น ๆ’
ภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ต้องการกระบอกตักน้ำดื่ม ถือขวานอันคมเข้าไปในป่า
เขาใช้สันขวานเคาะต้นไม้ใด ๆ บรรดาต้นไม้นั้น ๆ ต้นไม้ที่แข็งมีแก่น ซึ่งถูกเคาะ
ด้วยสันขวาน มีเสียงแน่น ส่วนต้นไม้ที่เสีย(เป็นโพลง)ข้างใน เปียกชื้น เกิดผุยุ่ย
ถูกเคาะด้วยสันขวาน มีเสียงก้อง เขาจึงตัดต้นไม้ที่เสียข้างในนั้นที่โคน ครั้นตัด
ที่โคนแล้ว จึงตัดปลาย ครั้นตัดปลายแล้ว จึงคว้านข้างในให้สะอาดดี ครั้นคว้าน
ข้างในให้สะอาดดีแล้ว จึงทำเป็นกระบอกตักน้ำดื่ม แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล มีการก้าวไป
การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ
บาตรและจีวร เหมือนภิกษุผู้เจริญอื่น ๆ ตราบเท่าที่ภิกษุทั้งหลายยังไม่เห็นอาบัติ
ของเขา แต่เมื่อใด ภิกษุทั้งหลายเห็นอาบัติของเขา เมื่อนั้น ภิกษุทั้งหลายย่อมรู้จัก
เขาอย่างนี้ว่า ‘ผู้นี้เป็นผู้ประทุษร้ายสมณะ เป็นสมณะแกลบ เป็นสมณะหยากเยื่อ’
ครั้นรู้จักเขาอย่างนี้แล้ว จึงนาสนะเขาออกไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคิดว่า ‘ภิกษุ
นี้อย่าได้ประทุษร้ายภิกษุที่ดีอื่น ๆ”
เพราะการอยู่ร่วมกัน บุคคลจึงรู้ได้ว่า
ผู้นี้เป็นผู้มีความปรารถนาชั่ว มักโกรธ
ลบหลู่คุณท่าน หัวดื้อ ตีเสมอ ริษยา ตระหนี่ โอ้อวด
บุคคลบางคนอยู่ในชุมชน พูดไพเราะ พูดดังสมณะ
ปิดบังกรรมชั่ว มีความเห็นชั่ว ไม่เอื้อเฟื้อ
พูดเลอะเทอะ พูดเท็จ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :217 }