เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 1.เมตตาวรรค 10.การัณฑวสูตร
วิธีประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ สำหรับนันทะ ดังนี้ คือ นันทะ
ต้องชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกางกั้น1ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน
ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกางกั้นด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอด
ปฐมยามแห่งราตรี สำเร็จสีหไสยาโดยตะแคงข้างขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติ-
สัมปชัญญะ ทำอุฏฐานสัญญา(ความหมายใจว่าจะลุกขึ้น)ไว้ในใจในมัชฌิมยามแห่ง
ราตรี ลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกางกั้นด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง
ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือวิธีประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ สำหรับ
นันทะ
วิธีมีสติสัมปชัญญะสำหรับนันทะ ดังนี้ คือ เวทนาปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏ
ตั้งอยู่ และปรากฏดับไปแก่นันทะ สัญญาปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ และปรากฏ
ดับไปแก่นันทะ วิตกปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ และปรากฏดับไปแก่นันทะ
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือ วิธีมีสติสัมปชัญญะสำหรับนันทะ
ภิกษุทั้งหลาย เว้นแต่ว่า นันทะจะเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จัก
ประมาณในการบริโภค ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ ประกอบด้วยสติ
และสัมปชัญญะ นันทะจึงจะสามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้
อย่างนี้แล
นันทสูตรที่ 9 จบ

10. การัณฑวสูตร
ว่าด้วยสมณะหยากเยื่อ
[10] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ริมฝั่งสระคัคคราโบกขรณี
เขตกรุงจัมปา สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุรูปที่ถูกพวกภิกษุโจท
ด้วยอาบัตินั้น พูดกลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ

เชิงอรรถ :
1 ธรรมเครื่องกางกั้นในที่นี้หมายถึงนิวรณ์ 5 ประการ คือ (1) กามฉันทะ (ความพอใจในกาม) (2) พยาบาท
(ความคิดร้าย) (3) ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) (4) อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)
(5) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) (องฺ.ปญฺจก. (แปล) 22/51/89)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :215 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 1.เมตตาวรรค 10.การัณฑวสูตร
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงกำจัดบุคคลนี้ออกไป จงกำจัดบุคคลนี้ออกไป คนชนิดนี้ต้องขับออก เป็นบุตร
นอกคอก กวนใจเสียจริง ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ มีการก้าวไป
การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ
บาตรและจีวรเหมือนภิกษุผู้เจริญอื่น ๆ ตราบเท่าที่ภิกษุทั้งหลายยังไม่เห็นอาบัติ
ของเขา แต่เมื่อใด ภิกษุทั้งหลายเห็นอาบัติของเขา เมื่อนั้น ภิกษุทั้งหลายย่อมรู้จัก
เขาอย่างนี้ว่า ‘ผู้นี้เป็นผู้ประทุษร้ายสมณะ เป็นสมณะแกลบ เป็นสมณะหยากเยื่อ’
ครั้นรู้จักเขาอย่างนี้แล้ว จึงนาสนะ1เขาออกไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคิดว่า
‘ภิกษุนี้อย่าได้ประทุษร้ายภิกษุที่ดีอื่น ๆ’
ภิกษุทั้งหลาย หญ้าที่ทำลายต้นข้าว มีเมล็ดเหมือนข้าวลีบ มีเมล็ดเหมือน
ข้าวตายนึ่ง พึงเกิดขึ้นในนาข้าวที่สมบูรณ์ รากของมันก็เป็นเช่นเดียวกับข้าวที่ดีอื่นๆ
ก้านของมันก็เป็นเช่นเดียวกับข้าวที่ดีอื่นๆ ใบของมันก็เป็นเช่นเดียวกับข้าวที่ดีอื่นๆ
ตราบเท่าที่มันยังไม่ออกรวง แต่เมื่อใด มันออกรวง เมื่อนั้น ชาวนาย่อมรู้จักมัน
อย่างนี้ว่า ‘หญ้านี้ทำลายต้นข้าว มีเมล็ดเหมือนข้าวลีบ มีเมล็ดเหมือนข้าวตายนึ่ง’
ครั้นรู้จักมันอย่างนี้แล้ว ชาวนาจึงถอนมันขึ้นพร้อมทั้งราก แล้วทิ้งให้พ้นจากที่นา
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคิดว่า ‘หญ้าชนิดนี้อย่าได้ทำลายข้าวที่ดีอื่น ๆ’ แม้ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล มีการก้าวไป
การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ
บาตรและจีวรเหมือนภิกษุผู้เจริญอื่น ๆ ตราบเท่าที่ภิกษุทั้งหลายยังไม่เห็นอาบัติ
ของเขา แต่เมื่อใด ภิกษุทั้งหลายเห็นอาบัติของเขา เมื่อนั้น ภิกษุทั้งหลายย่อมรู้จัก
เขาอย่างนี้ว่า ‘ผู้นี้เป็นผู้ประทุษร้ายสมณะ เป็นสมณะแกลบ เป็นสมณะหยากเยื่อ’
ครั้นรู้จักเขาอย่างนี้แล้ว จึงนาสนะเขาออกไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคิดว่า ‘ภิกษุ
นี้อย่าได้ประทุษร้ายภิกษุที่ดีอื่น ๆ’
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลฝัดข้าวเปลือกกองใหญ่ ข้าวเปลือกที่เป็นตัวแกร่ง
ในข้าวเปลือกกองใหญ่นั้น ก็เป็นกองอยู่ส่วนหนึ่ง ส่วนข้าวเปลือกที่ลีบ ก็ถูกลมพัดไป

เชิงอรรถ :
1 นาสนะ หมายถึงวิธีลงโทษพระ มี 3 วิธี คือ (1) ลิงคนาสนะ(ให้ฉิบหายจากเพศบรรพชิต) (2) ทัณฑ-
กัมมนาสนะ(ให้ฉิบหายด้วยการลงโทษ) (3) สังวาสนาสนะ(ให้ฉิบหายจากสังวาส) (วิ.อ. 3/321/444)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :216 }