เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 1.เมตตาวรรค 10.การัณฑวสูตร
วิธีประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ สำหรับนันทะ ดังนี้ คือ นันทะ
ต้องชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกางกั้น1ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน
ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกางกั้นด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอด
ปฐมยามแห่งราตรี สำเร็จสีหไสยาโดยตะแคงข้างขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติ-
สัมปชัญญะ ทำอุฏฐานสัญญา(ความหมายใจว่าจะลุกขึ้น)ไว้ในใจในมัชฌิมยามแห่ง
ราตรี ลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกางกั้นด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง
ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือวิธีประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ สำหรับ
นันทะ
วิธีมีสติสัมปชัญญะสำหรับนันทะ ดังนี้ คือ เวทนาปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏ
ตั้งอยู่ และปรากฏดับไปแก่นันทะ สัญญาปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ และปรากฏ
ดับไปแก่นันทะ วิตกปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ และปรากฏดับไปแก่นันทะ
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือ วิธีมีสติสัมปชัญญะสำหรับนันทะ
ภิกษุทั้งหลาย เว้นแต่ว่า นันทะจะเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จัก
ประมาณในการบริโภค ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ ประกอบด้วยสติ
และสัมปชัญญะ นันทะจึงจะสามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้
อย่างนี้แล
นันทสูตรที่ 9 จบ

10. การัณฑวสูตร
ว่าด้วยสมณะหยากเยื่อ
[10] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ริมฝั่งสระคัคคราโบกขรณี
เขตกรุงจัมปา สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุรูปที่ถูกพวกภิกษุโจท
ด้วยอาบัตินั้น พูดกลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง และไม่พอใจ

เชิงอรรถ :
1 ธรรมเครื่องกางกั้นในที่นี้หมายถึงนิวรณ์ 5 ประการ คือ (1) กามฉันทะ (ความพอใจในกาม) (2) พยาบาท
(ความคิดร้าย) (3) ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) (4) อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)
(5) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) (องฺ.ปญฺจก. (แปล) 22/51/89)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :215 }