เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 1.เมตตาวรรค 7.เทวทัตตวิปัตติสูตร
ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ดี ภิกษุพึงครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่ พึงครอบงำความ
เสื่อมลาภที่เกิดขึ้นอยู่ ... ยศที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้น ... สักการะที่
เกิดขึ้น ... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้น ... ความปรารถนาชั่วที่เกิดขึ้น ... ความมี
มิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร จึงพึงครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่
... พึงครอบงำความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเมื่อภิกษุไม่ครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่ อาสวะ1และความ
เร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น2 พึงเกิดขึ้น แต่เมื่อเธอครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่ อาสวะ
และความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นย่อมไม่มีแก่เธอ
เพราะเมื่อภิกษุไม่ครอบงำความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้นอยู่ ... ยศที่เกิดขึ้น ... ความ
เสื่อมยศที่เกิดขึ้น ... สักการะที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้น ... ความ
ปรารถนาชั่วที่เกิดขึ้น ... ความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่
ก่อความคับแค้นพึงเกิดขึ้น แต่เมื่อเธอครอบงำความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่ อาสวะ
และความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นย่อมไม่มีแก่เธอ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล จึงพึงครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่
... ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้น ... ยศที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้น ... สักการะที่
เกิดขึ้น ... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้น ... ความปรารถนาชั่วที่เกิดขึ้น ... ความมี
มิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่

เชิงอรรถ :
1 อาสวะ ในที่นี้หมายถึงอาสวะ 4 คือ กามาสวะ อาสวะคือกาม ภวาสวะ อาสวะคือภพ ทิฏฐาสวะ อาสวะ
คือทิฏฐิ อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา (สํ.สฬา.อ. 3/53-62/14, องฺ.ฉกฺก.อ. 3/58/140, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา
3/58/154-162)
2 ความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น หมายถึงความเร่าร้อนคือกิเลสหรือความเร่าร้อนคือวิบากเหล่าอื่นที่
ก่อความทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจอันเป็นผลที่เกิดจากอาสวะ (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/58/140, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา
3/58/154)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :208 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 1.เมตตาวรรค 8.อุตตรวิปัตติสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลาย
จักครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่ ... ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้น ... ยศที่เกิดขึ้น ... ความ
เสื่อมยศที่เกิดขึ้น ... สักการะที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้น ... ความ
ปรารถนาชั่วที่เกิดขึ้น ... ความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่’ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
พึงสำเหนียกอย่างนี้แล”
เทวทัตตวิปัตติสูตรที่ 7 จบ

8. อุตตรวิปัตติสูตร
ว่าด้วยพระอุตตระแสดงธรรมเรื่องวิบัติ
[8] สมัยหนึ่ง ท่านพระอุตตระอยู่ที่วฏชาลิกาวิหาร1 ใกล้ภูเขาสังเขยยกะ
มหิสวัตถุชนบท ณ ที่นั้นแล ท่านพระอุตตระเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย ทางที่ดี ภิกษุพึงพิจารณาเห็นวิบัติของตนตามกาลอันควร
ทางที่ดี ภิกษุพึงพิจารณาเห็นวิบัติของผู้อื่นตามกาลอันควร ทางที่ดี ภิกษุพึง
พิจารณาเห็นสมบัติของตนตามกาลอันควร ทางที่ดี ภิกษุพึงพิจารณาเห็นสมบัติ
ของผู้อื่นตามกาลอันควร”
สมัยนั้น ท้าวเวสวัณมหาราชมีกรณียกิจบางอย่างเสด็จจากทิศเหนือไปยังทิศใต้
ได้สดับเสียงของท่านพระอุตตระผู้กำลังแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้ว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย ทางที่ดี ภิกษุพึงพิจารณาเห็นวิบัติของตนตามกาลอันควร ทางที่ดี
ภิกษุพึงพิจารณาเห็นวิบัติของผู้อื่นตามกาลอันควร ทางที่ดี ภิกษุพึงพิจารณาเห็น
สมบัติของตนตามกาลอันควร ทางที่ดี ภิกษุพึงพิจารณาเห็นสมบัติของผู้อื่นตาม
กาลอันควร”
ครั้งนั้นแล ท้าวเวสวัณมหาราชได้หายจากวฏชาลิกาวิหาร ใกล้ภูเขาสังเขยยกะ
มหิสวัตถุชนบท ไปปรากฏในเทวโลกชั้นดาวดึงส์ เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออก


เชิงอรรถ :
1วฏชาลิกาวิหาร หมายถึงวิหารที่ตั้งอยู่ในป่าไทรย้อย (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/8/216)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :209 }