เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 1.เมตตาวรรค 5.ปฐมโลกธัมมสูตร

5. นินทา 6. สรรเสริญ
7. สุข 8. ทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม 8 ประการนี้แล ย่อมหมุนไปตามโลก และโลกก็หมุน
ไปตามโลกธรรม 8 ประการนี้
ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ
นินทา สรรเสริญ สุข และทุกข์
ธรรมเหล่านี้ในหมู่มนุษย์ ล้วนไม่เที่ยง
ไม่มั่นคง มีความแปรผันเป็นธรรมดา1
แต่ท่านผู้มีปัญญาดี มีสติ รู้ธรรมเหล่านี้แล้ว
ย่อมพิจารณาเห็นว่า มีความแปรผันเป็นธรรมดา
อิฏฐารมณ์(อารมณ์ที่น่าปรารถนา)จึงย่ำยีจิตของท่านไม่ได้
ท่านย่อมไม่ยินร้ายต่ออนิฏฐารมณ์(อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา)
ความยินดีหรือความยินร้าย
ท่านขจัดปัดเป่า จนไม่มีอยู่
ท่านรู้ทางที่ปราศจากธุลี2 ไม่มีความเศร้าโศก
เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ ย่อมรู้แจ้งชัดโดยถูกต้อง

ปฐมโลกธัมมสูตรที่ 5 จบ

เชิงอรรถ :
1 ดู ขุ.ม. (แปล) 29/172/490
2 ทางที่ปราศจากธุลี ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/5/215))

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :203 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 1.เมตตาวรรค 6.ทุติยโลกธัมมสูตร
6. ทุติยโลกธัมมสูตร
ว่าด้วยโลกธรรม สูตรที่ 2
[6] ภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม 8 ประการนี้ ย่อมหมุนไปตามโลก และโลกก็
หมุนไปตามโลกธรรม 8 ประการ
โลกธรรม 8 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. ลาภ 2. เสื่อมลาภ
3. ยศ 4. เสื่อมยศ
5. นินทา 6. สรรเสริญ
7. สุข 8. ทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม 8 ประการนี้แล ย่อมหมุนไปตามโลก และโลกก็หมุน
ไปตามโลกธรรม 8 ประการนี้
ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข และทุกข์ย่อมเกิดขึ้น
แก่ปุถุชนผู้ยังไม่ได้สดับ
ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข และทุกข์ย่อมเกิดขึ้น
แก่อริยสาวกผู้ได้สดับ
ภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้นมีความแปลกกันอย่างไร มีความแตกต่างกันอย่างไร1
มีเหตุทำให้ต่างกันอย่างไร ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ยังไม่ได้สดับ
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาค
เป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้น
ที่จะทรงอธิบายเนื้อความแห่งพระภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อจาก
พระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้”

เชิงอรรถ :
1 คำว่า “มีความแปลกกันอย่างไร มีความแตกต่างกันอย่างไร” นี้หมายถึงมีความเพียรที่ยิ่ง กล่าวคือมี
กิริยาที่พึงกระทำให้วิเศษแตกต่างกันอย่างไร (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/6/215, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา 3/6-8/253)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :204 }