เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 2.อนุสยวรรค 4.ปุคคลสูตร
5. มีของมาก ก็ถวายมาก
6. มีของประณีต ก็ถวายของประณีต
7. ถวายโดยเคารพ ไม่ถวายโดยไม่เคารพ
ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ 7 ประการนี้แล ภิกษุยังไม่เคยเข้า
ไปหา ควรเข้าไปหา หรือเข้าไปหาแล้ว ควรนั่งใกล้
กุลสูตรที่ 3 จบ

4. ปุคคลสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
[14] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 7 จำพวกนี้1 เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย
ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม
ของโลก
บุคคล 7 จำพวกไหนบ้าง คือ
1. ท่านผู้เป็นอุภโตภาควิมุต2 2. ท่านผู้เป็นปัญญาวิมุต3
3. ท่านผู้เป็นกายสักขี4 4. ท่านผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ5

เชิงอรรถ :
1 ดู ที.ปา. 11/150/91, 332/223, ม.ม. 13/182/155, องฺ.ทสก. (แปล) 24/16/29, อภิ.ปุ. (แปล)
36/15/148,208/229-231
2 ท่านผู้เป็นอุภโตภาควิมุต (ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน) หมายถึงท่านผู้หลุดพ้นจากรูปกายด้วยอรูปสมาบัติ
และหลุดพ้นจากนามกายด้วยอริยมรรค ได้แก่ พระอรหันต์ผู้บำเพ็ญสมถกัมมัฏฐาน ได้สัมผัสวิโมกข์ 8
ด้วยนามกาย ได้เจโตวิมุตติขั้นอรูปสมาบัติ และสิ้นอาสวะเพราะเห็นด้วยปัญญา เป็นพระอรหันต์ผู้ได้
ปัญญาวิมุตติ (องฺ.สตฺตก.อ. 3/14/160, องฺ.นวก.อ. 3/45/316)
3 ท่านผู้เป็นปัญญาวิมุต (ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา) หมายถึงพระอรหันต์ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วนๆ มิได้สัมผัส
วิโมกข์ 8 แต่สิ้นอาสวะเพราะเห็นด้วยปัญญา (องฺ.สตฺตก.อ. 3/14/161)
4 ท่านผู้เป็นกายสักขี (ผู้เป็นพยานในนามกาย) หมายถึงท่านที่ได้สัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยนามกาย และอาสวะ
บางส่วนก็สิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา ได้แก่ พระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไป จนถึงท่านผู้ปฏิบัติ
เพื่อบรรลุพระอรหัตที่มีสมาธินทรีย์แก่กล้าในการปฏิบัติ (องฺ.สตฺตก.อ. 3/14/161)
5 ท่านผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ (ผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิ) หมายถึงท่านผู้เข้าใจอริยสัจถูกต้องและอาสวะบางส่วนก็สิ้นไป
เพราะเห็นด้วยปัญญา ได้แก่ พระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไปจนถึงผู้ปฏิบัติเพื่อพระอรหัตที่มี
ปัญญินทรีย์แก่กล้าในการปฏิบัติ (องฺ.สตฺตก.อ. 3/14/161))

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :20 }