เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 1.เมตตาวรรค 2.ปัญญาสูตร
พรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง
ปัญญาที่ได้แล้ว
8. เป็นผู้มีปกติเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ 5
อยู่ว่า ‘รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้ ความดับ
แห่งรูปเป็นอย่างนี้ เวทนาเป็นอย่างนี้ ฯลฯ สัญญาเป็นอย่างนี้ ฯลฯ
สังขารเป็นอย่างนี้ ฯลฯ วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่ง
วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้’ นี้เป็นเหตุ
ปัจจัยที่ 8 ที่เป็นไปเพื่อได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่
ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
เพื่อนพรหมจารีย่อมสรรเสริญภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า
1. ท่านผู้มีอายุนี้อาศัยพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่ง
ผู้ตั้งอยู่ในฐานะเป็นครู เป็นที่เข้าไปตั้งหิริโอตตัปปะ ความรัก และ
ความเคารพอย่างแรงกล้า ท่านผู้นี้ย่อมรู้สิ่งที่ควรรู้ เห็นสิ่งที่ควร
เห็นเป็นแน่แท้ นี้เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความ
เป็นที่เคารพ เพื่อความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ1 เพื่อความ
เป็นอันเดียวกัน
2. ท่านผู้นี้อาศัยพระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่ง ผู้ตั้งอยู่
ในฐานะเป็นครู เป็นที่เข้าไปตั้งหิริโอตตัปปะ ความรัก และความ
เคารพอย่างแรงกล้า เข้าไปหาแล้วสอบสวน ไต่ถามท่านเหล่านั้น
ตามเวลาอันสมควรว่า ‘ท่านผู้เจริญ พระพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร
เนื้อความแห่งพระพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร’ ท่านเหล่านั้นย่อมเปิด
เผยธรรมที่ยังไม่ได้เปิดเผย ทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้ง่าย และ
บรรเทาความสงสัยในธรรมที่น่าสงสัยหลายอย่าง ท่านผู้นี้ย่อมรู้
สิ่งที่ควรรู้ เห็นสิ่งที่ควรเห็นเป็นแน่แท้ นี้เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อ

เชิงอรรถ :
1 ความเป็นสมณะ ในที่นี้หมายถึงสมณธรรม (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/2/214)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :198 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 1.เมตตาวรรค 2.ปัญญาสูตร
ความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อความยกย่อง เพื่อความ
เป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
3. ท่านผู้นี้ได้ฟังธรรมนั้นแล้ว ย่อมทำความสงบ 2 อย่าง คือ ความสงบ
กายและความสงบใจให้ถึงพร้อม ท่านผู้นี้ย่อมรู้สิ่งที่ควรรู้ เห็นสิ่งที่
ควรเห็นเป็นแน่แท้ นี้เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความ
เป็นที่เคารพ เพื่อความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ เพื่อความเป็น
อันเดียวกัน
4. ท่านผู้นี้เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วย
อาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษา
อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ท่านผู้นี้ย่อมรู้สิ่งที่ควรรู้ เห็นสิ่งที่ควรเห็น
เป็นแน่แท้ นี้เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็น
ที่เคารพ เพื่อความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ เพื่อความเป็น
อันเดียวกัน
5. ท่านผู้นี้เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรม
ทั้งหลายที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมี
ความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ
บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดี
ด้วยทิฏฐิ ท่านผู้นี้ย่อมรู้สิ่งที่ควรรู้ เห็นสิ่งที่ควรเห็นเป็นแน่แท้
นี้เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ เพื่อ
ความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
6. ท่านผู้นี้เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรม
เกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
ทั้งหลายอยู่ ท่านผู้นี้ย่อมรู้สิ่งที่ควรรู้ เห็นสิ่งที่ควรเห็นเป็นแน่แท้
นี้เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก เพื่อความเป็นที่เคารพ
เพื่อความยกย่อง เพื่อความเป็นสมณะ เพื่อความเป็นอันเดียวกัน
7. ท่านผู้นี้อยู่ในที่ประชุมสงฆ์ ไม่พูดเรื่องราวต่าง ๆ ไม่พูดติรัจฉานกถา
กล่าวธรรมเอง เชื้อเชิญผู้อื่นให้กล่าว และไม่ดูหมิ่นการนิ่งอย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :199 }