เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 1.เมตตาวรรค 2.ปัญญาสูตร
2. ปัญญาสูตร
ว่าด้วยเหตุปัจจัยที่ให้ได้ปัญญา
[2] ภิกษุทั้งหลาย เหตุปัจจัย 8 ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา1 อันเป็น
เบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งปัญญา
ที่ได้แล้ว
เหตุปัจจัย 8 ประการ2 อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. อาศัยพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่ง ผู้ตั้งอยู่ใน
ฐานะเป็นครู เป็นที่เข้าไปตั้งหิริโอตตัปปะ ความรัก และความ
เคารพอย่างแรงกล้า นี้เป็นเหตุปัจจัยที่ 1 ที่เป็นไปเพื่อได้ปัญญา
อันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์
เจริญเต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
2. อาศัยพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่ง ผู้ตั้งอยู่ใน
ฐานะเป็นครู เป็นที่เข้าไปตั้งหิริโอตตัปปะ ความรักและความเคารพ
อย่างแรงกล้า เธอเข้าไปหาแล้วสอบสวน ไต่ถามท่านเหล่านั้น
ตามเวลาอันสมควรว่า ‘ท่านผู้เจริญ พระพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร
เนื้อความแห่งพระพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร’ ท่านเหล่านั้นย่อมเปิด
เผยธรรมที่ยังไม่ได้เปิดเผย ทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้ง่าย
และบรรเทาความสงสัยในธรรมที่น่าสงสัยหลายอย่าง นี้เป็นเหตุ
ปัจจัยที่ 2 ที่เป็นไปเพื่อได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่
ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
3. ได้ฟังธรรมนั้นแล้ว ย่อมทำความสงบ 2 อย่าง คือ ความสงบกาย
และความสงบใจให้ถึงพร้อม นี้เป็นเหตุปัจจัยที่ 3 ที่เป็นไปเพื่อได้

เชิงอรรถ :
1 ปัญญา ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนา (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/2/214)
2 ดู ที.ปา. 11/358/261-264

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :196 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 1.เมตตาวรรค 2.ปัญญาสูตร
ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ
ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
4. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระ
และโคจร1 มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน
สิกขาบททั้งหลาย นี้เป็นเหตุปัจจัยที่ 4 ที่เป็นไปเพื่อได้ปัญญาอัน
เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์
เจริญเต็มที่แห่งปัญาที่ได้แล้ว
5. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ2 สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลาย
ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงาม
ในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์
บริบูรณ์ครบถ้วน ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วย
ทิฏฐิ นี้เป็นเหตุปัจจัยที่ 5 ที่เป็นไปเพื่อได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้น
แห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง
ปัญญาที่ได้แล้ว
6. เป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด
มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
ทั้งหลายอยู่ นี้เป็นเหตุปัจจัยที่ 6 ที่เป็นไปเพื่อได้ปัญญาอันเป็น
เบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ
เต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
7. อยู่ในที่ประชุมสงฆ์ ไม่พูดเรื่องราวต่างๆ ไม่พูดติรัจฉานกถา3 กล่าว
ธรรมเอง เชื้อเชิญผู้อื่นให้กล่าว และไม่ดูหมิ่นการนิ่งอย่างพระอริยะ
นี้เป็นเหตุปัจจัยที่ 7 ที่เป็นไปเพื่อได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่ง

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 1 สัตตกนิบาต ข้อ 75 หน้า 172 ในเล่มนี้
2 ดูเชิงอรรถที่ 3 สัตตกนิบาต ข้อ 6 หน้า 10 ในเล่มนี้
3 ติรัจฉานกถา คือถ้อยคำอันขวางทางไปสู่สวรรค์หรือนิพพาน หมายถึงเรื่องราวที่ภิกษุไม่ควรนำมาเป็นข้อ
ถกเถียงสนทนากัน เพราะทำให้เกิดฟุ้งซ่าน และหลงเพลินเสียเวลา (วิ.อ. 2/144/315, สารตฺถ.ฏีกา
3/144/43, ที.สี.อ. 1/17/84) มี 28 อย่าง ดูรายละเอียดใน วิ.มหา. (แปล) 2/508/599, วิ.ม. (แปล)
5/250/19-20, ที.สี. (แปล) 9/17/7, ที.ปา. 11/50/30, ม.ม. 13/223/197, สํ.ม. 19/1080/369,
องฺ.ทสก. (แปล) 24/69/150-151, ขุ.ม. (แปล) 29/157/439-440

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :197 }