เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 1.เมตตาวรรค 1.เมตตาสูตร
ทรงบูชายัญ คือ สัสสเมธะ ปุริสเมธะ
สัมมาปาสะ วาชเปยยะ และนิรัคคฬะ1 เสด็จเที่ยวไป
ยัญเหล่านั้น ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ 16
แห่งเมตตาเจโตวิมุตติที่บุคคลเจริญดีแล้ว
เหมือนแสงหมู่ดวงดาวไม่ถึงเสี้ยวที่ 16 แห่งแสงจันทร์ ฉะนั้น
ผู้มีเมตตาในสัตว์ทุกหมู่เหล่า
จะไม่ฆ่าเอง ไม่ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ไม่ชนะเอง2ไม่ใช้ให้ผู้อื่นชนะ3
ย่อมไม่มีเวร4กับใครๆ
เมตตาสูตรที่ 1 จบ

เชิงอรรถ :
1 ยัญทั้ง 5 นี้มีความหมายตรงกันข้ามกับมหายัญ 5 ประการของพราหมณ์ โดย 4 ยัญแรก (สัสสเมธะ
ปุริสเมธะ สัมมาปาสะ วาชเปยยะ) หมายถึงหลักสงเคราะห์ที่ดีงามของพระราชา (ราชสังคหวัตถุ) จัดเป็น
ส่วนเหตุ ยัญที่ 5 (นิรัคคฬะ) จัดเป็นส่วนผล ยัญทั้ง 5 นั้น มีความหมายดังนี้ (1) สัสสเมธะ หมายถึง
ความฉลาดในการสงเคราะห์พสกนิกรด้วยการบำรุงพืชพันธุ์ธัญญาหาร ส่งเสริมการเกษตร มีความหมาย
ตรงกันข้ามกับอัศวเมธะ(การฆ่าม้าบูชายัญ) ของพราหมณ์ (2) ปุริสเมธะ หมายถึงความฉลาดในการ
บำรุงข้าราชการ รู้จักส่งเสริมคนดีมีความสามารถ มีความหมายตรงกันข้ามกับปุริสเมธะ (การฆ่าคนบูชายัญ)
ของพราหมณ์ (3) สัมมาปาสะ หมายถึงความมีอัธยาศัยดุจบ่วงคล้องใจประชาชนด้วยการส่งเสริมอาชีพ
เช่น ให้คนกู้ยืมทุนไปสร้างตัวไม่เก็บภาษีเป็นเวลา 3 ปี เป็นต้น มีความหมายตรงกันข้ามกับสัมมาปาสะ
(การทำบ่วงแล้วขว้างไม้ลอดบ่วง ไม้ตกที่ไหนทำพิธีบูชายัญที่นั้น)ของพราหมณ์(4) วาชเปยยะ หมายถึง
ความมีปิยวาจาเป็นที่ดูดดื่มใจคน เช่น เรียกว่า ‘พ่อ’ ‘ลุง’ (5) นิรัคคฬะ หมายถึงบ้านเมืองสงบสุขปราศจาก
โจรผู้ร้าย ไม่ต้องระแวงภัย บ้านเรือนไม่ต้องลงกลอน เป็นผลที่เกิดจาก 4 ประการแรก มีความหมายตรง
กันข้ามกับนิรัคคฬะของพราหมณ์ซึ่งหมายถึงการฆ่าครบทุกอย่างบูชายัญไม่จำกัด (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/1/213,
ขุ.อิติ.อ. 27/106-108, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา 3/1/249-252, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา 2/39/371-372) และดู
เทียบใน สํ.ส. 15/120/91, องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/39/64-66, ขุ.อิติ. 25/27/250-251, ขุ.สุ. 25/
287-318/389-393
2 ไม่ชนะเอง ในที่นี้หมายถึงไม่ทำความเสื่อมต่อผู้อื่นด้วยตนเอง (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/1/214)
3 ไม่ใช้ให้ผู้อื่นชนะ ในที่นี้หมายถึงไม่ใช้ให้ผู้อื่นทำความเสื่อมต่อผู้อื่น (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/1/214)
4 ไม่มีเวร ในที่นี้หมายถึงไม่มีอกุศลเวรและบุคคลเวร (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/1/214) และดู ขุ.อิติ. 25/27/251

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :195 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 1.เมตตาวรรค 2.ปัญญาสูตร
2. ปัญญาสูตร
ว่าด้วยเหตุปัจจัยที่ให้ได้ปัญญา
[2] ภิกษุทั้งหลาย เหตุปัจจัย 8 ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา1 อันเป็น
เบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งปัญญา
ที่ได้แล้ว
เหตุปัจจัย 8 ประการ2 อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. อาศัยพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่ง ผู้ตั้งอยู่ใน
ฐานะเป็นครู เป็นที่เข้าไปตั้งหิริโอตตัปปะ ความรัก และความ
เคารพอย่างแรงกล้า นี้เป็นเหตุปัจจัยที่ 1 ที่เป็นไปเพื่อได้ปัญญา
อันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์
เจริญเต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
2. อาศัยพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่ง ผู้ตั้งอยู่ใน
ฐานะเป็นครู เป็นที่เข้าไปตั้งหิริโอตตัปปะ ความรักและความเคารพ
อย่างแรงกล้า เธอเข้าไปหาแล้วสอบสวน ไต่ถามท่านเหล่านั้น
ตามเวลาอันสมควรว่า ‘ท่านผู้เจริญ พระพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร
เนื้อความแห่งพระพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร’ ท่านเหล่านั้นย่อมเปิด
เผยธรรมที่ยังไม่ได้เปิดเผย ทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้ง่าย
และบรรเทาความสงสัยในธรรมที่น่าสงสัยหลายอย่าง นี้เป็นเหตุ
ปัจจัยที่ 2 ที่เป็นไปเพื่อได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่
ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
3. ได้ฟังธรรมนั้นแล้ว ย่อมทำความสงบ 2 อย่าง คือ ความสงบกาย
และความสงบใจให้ถึงพร้อม นี้เป็นเหตุปัจจัยที่ 3 ที่เป็นไปเพื่อได้

เชิงอรรถ :
1 ปัญญา ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนา (องฺ.อฏฺฐก.อ. 3/2/214)
2 ดู ที.ปา. 11/358/261-264

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :196 }