เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 10.อาหุเนยยวรรค
... พิจารณาเห็นความเป็นอนัตตา ...
... พิจารณาเห็นความสิ้นไป ...
... พิจารณาเห็นความเสื่อมไป ...
... พิจารณาเห็นความคลายไป ...
... พิจารณาเห็นความดับไป ...
... พิจารณาเห็นความสละคืน ...
ในเวทนาขันธ์อยู่ ... ในสัญญาขันธ์อยู่ ... ในสังขารขันธ์อยู่ ... ในวิญญาณขันธ์อยู่
ฯลฯ (481-520)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 7 จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ
เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ในอาหุเนยยวรรคนี้ มีหมวดธรรมดังนี้ คือ
ทวาร 6 อารมณ์ 6 วิญญาณ 6 ผัสสะ 6 เวทนา 6
สัญญา 6 สัญเจตนา 6 ตัณหา 6 วิตก 6 วิจาร 6 และขันธ์ 5
แต่ละประการในธรรมแต่ละหมวดมีพระสูตร 8 สูตร
มีสภาวธรรม 8 ประการ คือ
ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความเป็นอนัตตา
ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความคลายกำหนัด
ความดับ และความสละคืน
จัดเป็นพระสูตรเบื้องต้น 16 สูตร1
โดยประกอบการพิจารณาไปตามลำดับ ประการละ 8 สูตร
เมื่อรวมกันทั้งหมด ได้พระสูตร 528 สูตร
อาหุเนยยวรรคที่ 10 จบ

เชิงอรรถ :
1 พระสูตรเบื้องต้น 16 สูตร คือ ในธรรมประการที่ 1 คือจักษุแห่งหมวดทวาร 6 จัดพระสูตรได้ 8 สูตร
และในธรรมประการที่ 1 คือรูปแห่งหมวดอารมณ์ 6 จัดพระสูตรได้ 8 สูตรซึ่งเป็นหัวข้อธรรมตัวอย่าง
ให้หัวข้อธรรมอื่น ๆ ดำเนินไปในลักษณะเดียวกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :188 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ราคเปยยาล
ราคเปยยาล1
[623] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม 7 ประการ เพื่อรู้ยิ่ง
ราคะ(ความกำหนัด)
ธรรม 7 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สติสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือ ความระลึกได้)
ฯลฯ2
7. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความวางใจ
เป็นกลาง)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม 7 ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (1)
[624] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลควรเจริญธรรม 7 ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ
ธรรม 7 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
2. อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง)
3. อสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย)

เชิงอรรถ :
1 ราคเปยยาล หมายถึงหมวดธรรมที่ทรงแสดงโดยย่อมีราคะเป็นต้น หมายความว่านอกจากราคะแล้วยังมี
อกุศลธรรมอีก 16 ประการ รวมเป็น 17 ประการ แต่ละประการมีเป้าหมาย 10 เป้าหมาย (10 เพื่อ เช่น
เพื่อรู้ยิ่ง) มีการคำนวณพระสูตรด้วยเป้าหมายละ 1 สูตร จึงเป็น 170 สูตร (10 เป้าหมาย x อกุศลธรรม
17 ประการ) นี้เป็นการคำนวณพระสูตรจากการเจริญหมวดธรรมเพียง 1 หมวด แต่ในราคเปยยาลของ
สัตตกนิบาตนี้มีหมวดธรรมที่ต้องเจริญ 3 หมวด จึงรวมเป็น 510 สูตร (170 สูตร x 3 หมวดธรรม)
2 ดูความเต็มในสัตตกนิบาต ข้อ 26 (โพชฌังคสูตร) หน้า 40-41 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :189 }