เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 8.วินยวรรค 3.ตติยวินยธรสูตร
3. รู้จักลหุกาบัติ
4. รู้จักครุกาบัติ
5. ทรงจำปาติโมกข์ทั้งสอง1ได้ดี จำแนกได้ดี ให้เป็นไปได้ดีโดยพิสดาร
วินิจฉัยได้ดีโดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ2
6. ได้ฌาน 4 อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตาม
ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
7. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 7 ประการนี้แล เป็นพระวินัยธรได้
ทุติยวินยธรสูตรที่ 2 จบ

3. ตติยวินยธรสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของพระวินัยธร สูตรที่ 3
[77] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 7 ประการ เป็นพระวินัยธรได้
ธรรม 7 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. รู้จักอาบัติ
2. รู้จักอนาบัติ

เชิงอรรถ :
1 ปาติโมกข์ทั้งสอง ในที่นี้หมายถึงวิภังค์ 2 คือ ภิกขุวิภังค์ ว่าด้วยภิกขุปาติโมกข์ กล่าวคือสิกขาบทใน
ปาติโมกข์ฝ่ายภิกษุ 227 ข้อ และภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยภิกขุนีปาติโมกข์ กล่าวคือสิกขาบทฝ่ายภิกษุณี
311 ข้อ (วิ.อ.2/145-147/319)
2 วินิจฉัยได้ดีโดยสูตร ในที่นี้หมายถึงวินิจฉัยได้ดีด้วยคัมภีร์ขันธกะและปริวารแห่งพระวินัยปิฎก วินิจฉัยได้
ดีโดยอนุพยัญชนะ หมายถึงวินิจฉัยบทอักษรให้สมบูรณ์ ไม่ตกหล่น (วิ.อ. 2/145-147/319)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :173 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 8.วินยวรรค 4.จตุตถวินยธรสูตร
3. รู้จักลหุกาบัติ
4. รู้จักครุกาบัติ
5. เป็นผู้ตั้งมั่น ไม่ง่อนแง่นในวินัย1
6. ได้ฌาน 4 อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตาม
ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
7. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 7 ประการนี้แล เป็นพระวินัยธรได้
ตติยวินยธรสูตรที่ 3 จบ

4. จตุตถวินยธรสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของพระวินัยธร สูตรที่ 4
[78] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 7 ประการ เป็นพระวินัยธรได้
ธรรม 7 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. รู้จักอาบัติ
2. รู้จักอนาบัติ
3. รู้จักลหุกาบัติ

เชิงอรรถ :
1 ตั้งมั่นไม่ง่อนแง่น หมายถึงหนักแน่นมั่นคงและมั่นใจในเรื่องที่ตนวินิจฉัยไว้ดีแล้ว ไม่กวัดแกว่งโอนเอียง
คล้อยตามความคิดของผู้อื่น เมื่อถูกถามในเรื่องบาลี อรรถกถาตอนต้น ตอนปลาย ตามลำดับบท ก็ไม่
หวั่นไหวสะทกสะท้าน สามารถยืนยันได้ด้วยว่า ‘ข้าพเจ้าพูดอย่างนี้ อาจารย์ของข้าพเจ้าพูดอย่างนี้’ แยก
ตอบเป็นประเด็นได้ชัดเจน ดุจการใช้แหนบถอนขนที่ละเส้น (องฺ.สตฺตก.ฏีกา 3/75-82/243)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :174 }