เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 7.มหาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ในข้อนั้น เหตุที่ทำให้ไม่ได้บริโภคอาหารมีดังนี้ คนโกรธก็ไม่บริโภคอาหาร
คนมีทุกข์ก็ไม่บริโภคอาหาร คนเจ็บไข้ก็ไม่บริโภคอาหาร คนรักษาอุโบสถก็ไม่
บริโภคอาหาร และคนหาอาหารไม่ได้ก็ไม่บริโภคอาหาร
ภิกษุทั้งหลาย เราได้กำหนดอายุ กำหนดประมาณอายุ กำหนดฤดู กำหนดปี
กำหนดเดือน กำหนดกึ่งเดือน กำหนดราตรี กำหนดวัน กำหนดอาหาร และ
กำหนดอันตรายแห่งการบริโภคอาหารของมนุษย์ผู้มีอายุ 100 ปี ด้วยประการ
ฉะนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย กิจใด ที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ อาศัย
ความอนุเคราะห์พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้น เราได้ทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย ภิกษุ
ทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง1 เธอทั้งหลายจงเพ่ง2 อย่าประมาท อย่าเป็นผู้มี
วิปปฏิสาร (ความร้อนใจ) ในภายหลังเลย นี้เป็นอนุสาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย
อรกสูตรที่ 10 จบ
มหาวรรคที่ 10 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. หิริโอตตัปปสูตร 2. สัตตสุริยสูตร
3. นคโรปมสูตร 4. ธัมมัญญูสูตร
5. ปาริฉัตตกสูตร 6. สักกัจจสูตร
7. ภาวนาสูตร 8. อัคคิกขันโธปมสูตร
9. สุเนตตสูตร 10. อรกสูตร


เชิงอรรถ :
1 คำว่า นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสบอกเสนาสนะ หรือสถานที่ที่สงัดปราศจากคน
เหมาะแก่การบำเพ็ญความเพียรแก่ภิกษุ ประหนึ่งว่า ทรงมอบมรดก (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/73/36)
2 เพ่ง ในที่นี้หมายถึงเจริญสมถกัมมัฏฐานโดยเพ่งอารมณ์กัมมัฏฐาน 38 ประการ และเจริญวิปัสสนา-
กัมมัฏฐานโดยเพ่งขันธ์ 5 อายตนะ 12 เป็นต้นว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยง (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/73/36)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :170 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 8.วินยวรรค 1.ปฐมวินยธรสูตร
8. วินยวรรค
หมวดว่าด้วยวินัย1
1. ปฐมวินยธรสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของพระวินัยธร สูตรที่ 1
[75] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 7 ประการ
เป็นพระวินัยธรได้
ธรรม 7 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. รู้จักอาบัติ
2. รู้จักอนาบัติ
3. รู้จักลหุกาบัติ
4. รู้จักครุกาบัติ2
5. มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์3 เพียบพร้อมด้วยอาจาระ

เชิงอรรถ :
1 พระสูตรที่ 1-8 ในวรรคนี้ ดูเปรียบเทียบกับคัมภีร์บริวาร (วิ.ป. 8/327/288-291)
2 รู้จักอาบัติ หมายถึงรู้อาบัติที่ท่านแสดงไว้ในสิกขาบทและสิกขาบทวิภังค์ (อธิบายสิกขาบท)
รู้จักอนาบัติ หมายถึงสามารถวินิจฉัยเรื่องที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับอาบัติแต่ไม่ถึงกับต้องอาบัติ เช่น นางภิกษุณี
อุบลวรรณาถูกข่มขืน ท่านไม่ยินดี จึงไม่ต้องอาบัติ ดู วิ.มหา (แปล) 1/68/56-57
รู้จักลหุกาบัติ หมายถึงรู้ว่าอาบัติ 5 อย่าง คือ ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต จะพ้น
ได้ด้วยวินัยกรรมเบาคือการแสดงอาบัติ(เทสนาวิธี)
รู้จักครุกาบัติ หมายถึงรู้ว่าสังฆาทิเสสจะพ้นได้ด้วยวินัยกรรมหนักคือวุฏฐานวิธี (ระเบียบเครื่องออกจาก
อาบัติ 4 อย่าง คือ ปริวาส มานัต อัพภาน และปฏิกัสสนา) และรู้ว่าปาราชิกไม่สามารถจะพ้นได้ด้วยวินัย
กรรมอะไร ๆ (วิ.อ. 3/321/442)
3 สังวรในปาติโมกข์ มีอรรถาธิบายแต่ละคำดังนี้ สังวร หมายถึงการไม่ล่วงละเมิดทางกาย ทางวาจา
ปาติโมกข์ หมายถึงศีลสิกขาบทที่เป็นเหตุให้ผู้รักษาหลุดพ้นจากทุกข์ (ปาติ = รักษา + โมกขะ = ความ
หลุดพ้น) (วิสุทฺธิ. 1/14/17)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :171 }