เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 7.มหาวรรค 6.สักกัจจสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด
เกิดความคิดคำนึงขึ้นอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยอะไรหนอแลอยู่ จึงละ
อกุศล เจริญกุศลได้’ ลำดับนั้นแลข้าพระองค์จึงเกิดความคิดดังนี้ว่า
1. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยพระศาสดาอยู่ จึงละอกุศล เจริญกุศลได้
2. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยพระธรรม ฯลฯ
3. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยพระสงฆ์ ฯลฯ
4. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยสิกขา ฯลฯ
5. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยสมาธิ ฯลฯ
6. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยความไม่ประมาท ฯลฯ
7. ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยปฏิสันถารอยู่ จึงละอกุศล เจริญกุศลได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ต่อมา ข้าพระองค์ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ธรรมของเรา
เหล่านี้บริสุทธิ์ผุดผ่อง ทางที่ดี เราควรจะไปกราบทูลธรรมเหล่านี้แด่พระผู้มีพระภาค
ธรรมของเราเหล่านี้จักบริสุทธิ์ และนับว่าบริสุทธิ์ยิ่งขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ เปรียบ
เหมือนบุรุษได้ทองคำแท่งที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง เขามีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทองคำแท่ง
ของเรานี้บริสุทธิ์ผุดผ่อง ทางที่ดีเราควรจะไปเสนอทองคำแท่งนี้แก่ช่างทอง ทองคำ
แท่งของเรานี้ไปถึงช่างทองแล้วจักบริสุทธิ์ และนับว่าบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ด้วยอาการอย่างนี้
แม้ฉันใด ธรรมของเราเหล่านี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักบริสุทธิ์ผุดผ่อง ทางที่ดี
เราควรจะไปกราบทูลธรรมเหล่านี้แด่พระผู้มีพระภาค ธรรมของเราเหล่านี้ก็จักบริสุทธิ์
และนับว่าบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ด้วยอาการอย่างนี้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ สารีบุตร ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัย
ศาสดาอยู่ จึงละอกุศล เจริญกุศลได้ ฯลฯ อาศัยธรรม ฯลฯ อาศัยสงฆ์ ฯลฯ อาศัย
สิกขา ฯลฯ อาศัยสมาธิ ฯลฯ อาศัยความไม่ประมาท ฯลฯ สารีบุตร ภิกษุ
สักการะ เคารพ อาศัยปฏิสันถารอยู่ จึงละอกุศล เจริญกุศลได้”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ชัดเนื้อความแห่งพระภาษิตที่
พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้ว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :151 }