เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 7.มหาวรรค 4.ธัมมัญญูสูตร
เรียกเธอว่า ‘เป็นอัตถัญญู‘ในที่นี้ แต่เพราะภิกษุรู้ความหมายแห่งภาษิตนั้น ๆ ว่า
‘นี้เป็นความหมายแห่งภาษิตนี้ นี้เป็นความหมายแห่งภาษิตนี้’ ฉะนั้น เราจึงเรียก
เธอว่า เป็นอัตถัญญู ภิกษุชื่อว่าเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุเป็นอัตตัญญู อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้จักตนว่า ‘ว่าโดยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา
ปฏิภาณ เรามีอยู่ประมาณเท่านี้’ หากภิกษุไม่รู้จักตนว่า ‘ว่าโดยศรัทธา ศีล สุตะ
จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ เรามีอยู่ประมาณเท่านี้’ เราไม่พึงเรียกเธอว่าเป็นอัตตัญญู
ในที่นี้ แต่เพราะภิกษุรู้จักตนว่า ‘ว่าโดยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา
ปฏิภาณ เรามีอยู่ประมาณเท่านี้’ ฉะนั้น เราจึงเรียกเธอว่า เป็นอัตตัญญู ภิกษุ
ชื่อว่าเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุเป็นมัตตัญญู อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้จักประมาณในการรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร1 หากภิกษุไม่รู้จักประมาณในการรับจีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เราไม่พึงเรียกเธอว่าเป็นมัตตัญญูในที่นี้
แต่เพราะภิกษุรู้จักประมาณในการรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย-
เภสัชชบริขาร ฉะนั้น เราจึงเรียกเธอว่าเป็นมัตตัญญู ภิกษุชื่อว่าเป็นธัมมัญญู
อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุเป็นกาลัญญู อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้จักกาลว่า ‘นี้เป็นกาลแห่งอุทเทส2 นี้เป็นกาลแห่ง
ปริปุจฉา3 นี้เป็นกาลบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกาลหลีกเร้น’ หากภิกษุไม่รู้จักกาลว่า ‘นี้เป็น

เชิงอรรถ :
1 คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร คือเภสัชทั้ง 5 ได้แก่ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย (วิ.อ. 2/290,
สารตฺถ.ฏีกา 2/290/393) เป็นสิ่งสัปปายะสำหรับภิกษุเจ็บไข้ จัดว่าเป็นบริขาร คือ บริวารของชีวิต
ดุจกำแพงล้อมพระนครเพราะคอยป้องกันรักษาไม่ให้อาพาธที่จะบั่นรอนชีวิตได้ช่องเกิดขึ้น และเป็น
สัมภาระของชีวิตคอยประคับประคองชีวิตให้ดำรงอยู่ได้นาน (วิ.อ. 2/290/40-41, ม.มู.อ. 1/191/397,
ม.มู.ฏีกา 1/23/213) เป็นเครื่องป้องกันโรคบำบัดโรคที่ให้เกิดทุกขเวทนาเนื่องจากธาตุกำเริบให้หายไป
(สารตฺถ.ฏีกา 2/290/393)
2 อุทเทส หมายถึงการเรียนพระพุทธพจน์ (องฺ.สตฺตก.อ. 3/68/203)
3 ปริปุจฉา หมายถึงการสอบถามเหตุผล (องฺ.สตฺตก.อ. 3/68/203)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :144 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 7.มหาวรรค 4.ธัมมัญญูสูตร
กาลแห่งอุทเทศ นี้เป็นกาลแห่งปริปุจฉา นี้เป็นกาลบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกาลหลีกเร้น’
เราไม่เรียกเธอว่าเป็นกาลัญญูในที่นี้ แต่เพราะภิกษุรู้จักกาลว่า ‘นี้เป็นกาลแห่งอุทเทศ
นี้เป็นกาลแห่งปริปุจฉา นี้เป็นกาลบำเพ็ญเพียร นี้เป็นกาลหลีกเร้น’ ฉะนั้น เราจึง
เรียกเธอว่าเป็นกาลัญญู ภิกษุชื่อว่าเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู
กาลัญญู ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุเป็นปริสัญญู อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้จักบริษัทว่า ‘นี้ขัตติยบริษัท นี้พราหมณบริษัท นี้
คหบดีบริษัท นี้สมณบริษัท ในบริษัทนั้นเราควรเข้าไปหาอย่างนี้ ควรยืนอย่างนี้
ควรทำอย่างนี้ ควรนั่งอย่างนี้ ควรกล่าวอย่างนี้ ควรสงบนิ่งอย่างนี้’ หากภิกษุ
ไม่รู้จักบริษัทว่า ‘นี้ขัตติยบริษัท ฯลฯ ควรสงบนิ่งอย่างนี้’ เราไม่เรียกเธอว่าเป็น
ปริสัญญู ในที่นี้ แต่เพราะภิกษุรู้จักบริษัทว่า ‘นี้ขัตติยบริษัท ฯลฯ ควรสงบนิ่ง
อย่างนี้’ ฉะนั้น เราจึงเรียกเธอว่าเป็นปริสัญญู ภิกษุชื่อว่าเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู
อัตตัญญู มัตตัญญู กาลัญญู ปริสัญญู ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุเป็นปุคคลปโรปรัญญู อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้จักบุคคล 2 จำพวก บุคคล 2 จำพวก คือ พวกหนึ่ง
ต้องการเห็นพระอริยะ อีกพวกหนึ่งไม่ต้องการเห็นพระอริยะ บุคคลพวกที่ไม่ต้องการ
เห็นพระอริยะ ก็ถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น อย่างนี้ บุคคลพวกที่ต้องการเห็นพระอริยะ
ก็ได้รับการสรรเสริญด้วยเหตุนั้น อย่างนี้
บุคคลผู้ต้องการเห็นพระอริยะก็มี 2 จำพวก คือ พวกหนึ่งต้องการฟังสัทธรรม
อีกพวกหนึ่งไม่ต้องการฟังสัทธรรม บุคคลพวกที่ไม่ต้องการฟังสัทธรรม ก็ถูกติเตียน
ด้วยเหตุนั้น อย่างนี้ บุคคลพวกที่ต้องการฟังสัทธรรม ก็ได้รับการสรรเสริญด้วย
เหตุนั้น อย่างนี้
บุคคลผู้ต้องการฟังสัทธรรมก็มี 2 จำพวก คือ พวกหนึ่งเงี่ยโสตฟังธรรม อีกพวก
หนึ่งไม่เงี่ยโสตฟังธรรม บุคคลพวกที่ไม่เงี่ยโสตฟังธรรม ก็ถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น
อย่างนี้ บุคคลพวกที่เงี่ยโสตฟังธรรม ก็ได้รับการสรรเสริญด้วยเหตุนั้น อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :145 }