เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 7.มหาวรรค 3.นคโรปมสูตร
3. อริยสาวก เพราะปีติคลายไป บรรลุตติยฌาน ฯลฯ1 เพื่อความอุ่นใจ
เพื่อความไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุกของตน เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน
เปรียบเหมือนปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมอปรัณณชาติ
คือ งา ถั่วเขียว ถั่วทอง ไว้มากเพื่อความอุ่นใจ เพื่อความไม่
สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุกของประชาชนภายใน และป้องกัน
อันตรายภายนอก
4. อริยสาวก เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับ
ไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ2 เพื่อความอุ่นใจ เพื่อความไม่
สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุกของตน เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบ
เหมือนปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมเภสัช คือ เนยใส
เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เกลือ ไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ เพื่อ
ความไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุกของประชาชนภายในและ
ป้องกันอันตรายภายนอก
ฌาน 4 ประการนี้อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันที่อริยสาวก
ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรม 7 ประการนี้
และได้ฌาน 4 ประการ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันนี้ตามความ
ปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ภิกษุทั้งหลาย ในกาลนั้น เราจึงเรียก
อริยสาวกนี้ว่า มารมีบาปก็ทำอะไรไม่ได้
นคโรปมสูตรที่ 3 จบ

เชิงอรรถ :
1 ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ 11 หน้า 222 ในเล่มนี้
2 ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ 11 หน้า 223 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :142 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 7.มหาวรรค 4.ธัมมัญญูสูตร
4. ธัมมัญญูสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้รู้ธรรม
[68] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 7 ประการ1นี้ เป็นผู้ควรแก่
ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
ธรรม 7 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้

1. เป็นธัมมัญญู 2. เป็นอัตถัญญู
3. เป็นอัตตัญญู 4. เป็นมัตตัญญู
5. เป็นกาลัญญู 6. เป็นปริสัญญู
7. เป็นปุคคลปโรปรัญญู2

ภิกษุเป็นธัมมัญญู อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ธรรมคือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน
อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ หากภิกษุไม่รู้ธรรมคือ สุตตะ ฯลฯ
เวทัลละเลย เราไม่พึงเรียกเธอว่าเป็นธัมมัญญูในที่นี้ แต่เพราะภิกษุรู้ธรรมคือ
สุตตะ ฯลฯ เวทัลละ ฉะนั้น เราจึงเรียกเธอว่าเป็นธัมมัญญู ภิกษุชื่อว่าเป็นธัมมัญญู
ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุเป็นอัตถัญญู อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ความหมายแห่งภาษิตนั้นๆ นั่นแลว่า ‘นี้เป็นความหมาย
แห่งภาษิตนี้ นี้เป็นความหมายแห่งภาษิตนี้’ หากภิกษุไม่รู้เนื้อความแห่งภาษิตนั้น ๆ
เลยว่า ‘นี้เป็นความหมายแห่งภาษิตนี้ นี้เป็นความหมายแห่งภาษิตนี้’ เราไม่พึง

เชิงอรรถ :
1 ดู ที.ปา. 11/330/222
2 ปุคคลปโรปรัญญู หมายถึงรู้จักเลือกคน กล่าวคือรู้ว่า เมื่อคบหาคนใดอกุศลธรรมเสื่อมไปกุศลธรรมเจริญ
ขึ้น จึงเลือกคบคนนั้น เมื่อคบคนใดอกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป ก็ไม่คบคนนั้น (องฺ.สตฺตก.ฏีกา
3/68/235)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :143 }