เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 7.มหาวรรค 3.นคโรปมสูตร
เจริญกุศล ละธรรมที่มีโทษ เจริญธรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้
บริสุทธิ์ อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรมประการที่ 3 นี้
4. อริยสาวกเป็นพหูสูต ฯลฯ1 แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ เปรียบเหมือน
ปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมอาวุธไว้มาก ทั้งที่เป็นอาวุธ
แหลมยาวและอาวุธมีคม เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกัน
อันตรายภายนอก ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีสุตะเหมือนอาวุธ
ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละธรรมที่มีโทษ เจริญธรรมที่ไม่มีโทษ
บริหารตนให้บริสุทธิ์ อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรมประการที่ 4 นี้
5. อริยสาวกเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศล
ธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระใน
กุศลธรรมทั้งหลายอยู่ เปรียบเหมือนปัจจันตนครของพระราชา มี
กองพลตั้งอาศัยอยู่มาก คือ พลช้าง พลม้า พลรถ พลธนู หน่วย
เชิญธง หน่วยจัดกระบวนทัพ หน่วยพลาธิการ หน่วยเสนาธิการ
หน่วยจู่โจม หน่วยทหารหาญ หน่วยกล้าตาย หน่วยทหาร
เกราะหนัง หน่วยทหารทาส เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตราย
ภายนอก ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกมีความเพียรเหมือนกองทัพ
ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละธรรมที่มีโทษ เจริญธรรมที่ไม่มีโทษ
บริหารตนให้บริสุทธิ์ อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรมประการที่ 5 นี้
6. อริยสาวกเป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติปัญญาเครื่องรักษาตน
อย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำคำที่พูดแม้นานได้ เปรียบเหมือนปัจจันต-
นครของพระราชา มีทหารยามฉลาดเฉียบแหลม มีปัญญา คอยกัน
คนที่ไม่รู้จักไม่ให้เข้าไป ให้คนที่รู้จักเข้าไป เพื่อคุ้มกันภัยภายใน
และป้องกันอันตรายภายนอก ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีสติ
เหมือนทหารยาม ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละธรรมที่มีโทษ เจริญ

เชิงอรรถ :
1 ดูความเต็มในสัตตกนิบาต ข้อ 6 หน้า 10-11 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :140 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 7.มหาวรรค 3.นคโรปมสูตร
ธรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ อริยสาวกประกอบด้วย
สัทธรรมประการที่ 6 นี้
7. อริยสาวกก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วย
ปัญญาเครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ
ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ เปรียบเหมือนปัจจันตนคร
ของพระราชา มีกำแพงสูงและกว้าง พร้อมด้วยป้อมก่ออิฐถือปูนดี
เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกถึงพร้อมด้วยปัญญาเหมือนป้อมที่ก่ออิฐถือปูนดี ย่อมละ
อกุศล เจริญกุศล ละธรรมที่มีโทษ เจริญธรรมที่ไม่มีโทษ บริหาร
ตนให้บริสุทธิ์ อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรมประการที่ 7 นี้
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรม 7 ประการนี้
ฌาน 4 ประการ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ที่อริยสาวก
ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก อะไรบ้าง คือ
1. อริยสาวกสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้วบรรลุปฐมฌาน
ฯลฯ1 เพื่อความอุ่นใจ เพื่อความไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุก
ของตน เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนปัจจันตนครของ
พระราชา มีการสะสมหญ้า ไม้ และน้ำไว้มากเพื่อความอุ่นใจ เพื่อ
ความไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุกของประชาชนภายใน และเพื่อ
ป้องกันอันตรายภายนอก
2. อริยสาวก เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ2
เพื่อความอุ่นใจ เพื่อความไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุกของตน
เพื่อก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนปัจจันตนครของพระราชามีการ
สะสมข้าวสาลีและข้าวเหนียวไว้มากเพื่อความอุ่นใจ เพื่อความไม่
สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุกของประชาชนภายใน และเพื่อ
ป้องกันอันตรายภายนอก

เชิงอรรถ :
1-2 ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ 11 หน้า 222 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :141 }