เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 1.ธนวรรค 8.สัญโญชนสูตร
ผู้ใดจะเป็นสตรี หรือบุรุษก็ตาม
มีทรัพย์ 7 ประการนี้ คือ สัทธาธนะ
สีลธนะ หิริธนะ โอตตัปปธนะ
สุตธนะ จาคธนะ และปัญญาธนะ
ผู้นั้นแลเป็นคนมีทรัพย์มาก
ใคร ๆ ไม่พึงชนะได้ทั้งในเทวโลกและมนุษยโลก
เพราะฉะนั้น ผู้มีปัญญา
เมื่อระลึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ควรหมั่นประกอบศรัทธา ศีล
ความเลื่อมใสและการเห็นธรรม
อุคคสูตรที่ 7 จบ

8. สัญโญชนสูตร
ว่าด้วยสังโยชน์1
[8] ภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ) 7 ประการนี้
สังโยชน์ 7 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. อนุนยสังโยชน์2 (สังโยชน์คือความยินดี)
2. ปฏิฆสังโยชน์ (สังโยชน์คือความยินร้าย)
3. ทิฏฐิสังโยชน์ (สังโยชน์คือความเห็นผิด)
4. วิจิกิจฉาสังโยชน์ (สังโยชน์คือความลังเลสงสัย)
5. มานสังโยชน์ (สังโยชน์คือความถือตัว)
6. ภวราคสังโยชน์ (สังโยชน์คือความติดใจในภพ)
7. อวิชชาสังโยชน์ (สังโยชน์คือความไม่รู้แจ้ง)

ภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ 7 ประการนี้แล

สัญโญชนสูตรที่ 8 จบ

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ ที.ปา 11/332/223, สํ.ม. 19/180-181/56-57, องฺ.ทสก. (แปล) 24/13/21, อภิ.วิ. (แปล)
35/940/592,949/606)
2 อนุนยสังโยชน์ หมายถึงกามราคสังโยชน์ (องฺ.สตฺตก.อ.3/8/160)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :14 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 1.ธนวรรค 9.ปหานสูตร
9. ปหานสูตร
ว่าด้วยการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละสังโยชน์
[9] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์ 7
ประการ
ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์ 7 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดอนุนยสังโยชน์
2. ... ปฏิฆสังโยชน์
3. ... ทิฏฐิสังโยชน์
4. ... วิจิกิจฉาสังโยชน์
5. ... มานสังโยชน์
6. ... ภวราคสังโยชน์
7. ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดอวิชชาสังโยชน์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์ 7 ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุละอนุนยสังโยชน์ได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน
เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป
ไม่ได้ ละปฏิฆสังโยชน์ได้เด็ดขาด ฯลฯ ทิฏฐิสังโยชน์ ฯลฯ วิจิกิจฉาสังโยชน์ ฯลฯ
มานสังโยชน์ ฯลฯ ภวราคสังโยชน์ ฯลฯ ละอวิชชาสังโยชน์ได้เด็ดขาด ตัดราก
ถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เมื่อนั้น เราจึงเรียกภิกษุนี้ว่า ‘ตัดตัณหาได้แล้ว ถอนสังโยชน์
ได้แล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้วเพราะละมานะได้โดยชอบ‘1

ปหานสูตรที่ 9 จบ

เชิงอรรถ :
1 หมายถึงตัดตัณหาได้เด็ดขาดด้วยโลกุตตรมรรค ถอนสังโยชน์ 10 ประการได้ ทำให้วัฏฏทุกข์หยุดการ
หมุนได้ และคำว่า “เพราะละมานะได้” แปลจากบาลีว่า “มานาภิสมยา” ตามนัย วิ.อ. 1/97 ใช้ใน
ความหมายว่า ‘ละ’ ดังนั้น จึงมีความหมายว่า เพราะรู้ยิ่งคือเห็นและละมานะ 9 ประการได้ (ม.มู.อ.1/27/
95, องฺ.จตุกฺก.อ. 2/177/398) และดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/177/249, 257/374, องฺ.ฉกฺก. (แปล)
22/105/627

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :15 }