เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 7.มหาวรรค 3.นคโรปมสูตร
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ในกาลนั้น เราจึงเรียกอริย-
สาวกนี้ว่า มารมีบาปก็ทำอะไรไม่ได้
อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรม 7 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อริยสาวกเป็นผู้มีศรัทธา คือเชื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ของตถาคตว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ1 เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค’ เปรียบเหมือนปัจจันตนครของพระราชา มี
เสาระเนียดขุดหลุมฝังลึกไว้เป็นอย่างดี ไม่หวั่นไหว ไม่คลอนแคลน
เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกเป็นผู้มีศรัทธาเหมือนเสาระเนียด ย่อมละอกุศล เจริญ
กุศล ละธรรมที่มีโทษ เจริญธรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์
อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรมประการที่ 1 นี้
2. อริยสาวกเป็นผู้มีหิริ คือ ละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ละอายต่อการประกอบบาปอกุศลธรรม เปรียบเหมือนปัจจันตนคร
ของพระราชา มีคูลึกและกว้าง เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกัน
อันตรายภายนอก ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีหิริเหมือนคู
ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละธรรมที่มีโทษ เจริญธรรมที่ไม่มีโทษ
บริหารตนให้บริสุทธิ์ อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรมประการ
ที่ 2 นี้
3. อริยสาวกเป็นผู้มีโอตตัปปะ คือ สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อการประกอบบาปอกุศลธรรม เปรียบเหมือน
ปัจจันตนครของพระราชา มีทางเดินได้รอบ ทั้งสูงและกว้าง เพื่อ
คุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกผู้มีโอตตัปปะเหมือนทางเดินรอบกำแพง ย่อมละอกุศล

เชิงอรรถ :
1 ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ 29 (อักขณสูตร) หน้า 276 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :139 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 7.มหาวรรค 3.นคโรปมสูตร
เจริญกุศล ละธรรมที่มีโทษ เจริญธรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้
บริสุทธิ์ อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรมประการที่ 3 นี้
4. อริยสาวกเป็นพหูสูต ฯลฯ1 แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ เปรียบเหมือน
ปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมอาวุธไว้มาก ทั้งที่เป็นอาวุธ
แหลมยาวและอาวุธมีคม เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกัน
อันตรายภายนอก ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีสุตะเหมือนอาวุธ
ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละธรรมที่มีโทษ เจริญธรรมที่ไม่มีโทษ
บริหารตนให้บริสุทธิ์ อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรมประการที่ 4 นี้
5. อริยสาวกเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศล
ธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระใน
กุศลธรรมทั้งหลายอยู่ เปรียบเหมือนปัจจันตนครของพระราชา มี
กองพลตั้งอาศัยอยู่มาก คือ พลช้าง พลม้า พลรถ พลธนู หน่วย
เชิญธง หน่วยจัดกระบวนทัพ หน่วยพลาธิการ หน่วยเสนาธิการ
หน่วยจู่โจม หน่วยทหารหาญ หน่วยกล้าตาย หน่วยทหาร
เกราะหนัง หน่วยทหารทาส เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตราย
ภายนอก ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกมีความเพียรเหมือนกองทัพ
ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละธรรมที่มีโทษ เจริญธรรมที่ไม่มีโทษ
บริหารตนให้บริสุทธิ์ อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรมประการที่ 5 นี้
6. อริยสาวกเป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติปัญญาเครื่องรักษาตน
อย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำคำที่พูดแม้นานได้ เปรียบเหมือนปัจจันต-
นครของพระราชา มีทหารยามฉลาดเฉียบแหลม มีปัญญา คอยกัน
คนที่ไม่รู้จักไม่ให้เข้าไป ให้คนที่รู้จักเข้าไป เพื่อคุ้มกันภัยภายใน
และป้องกันอันตรายภายนอก ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีสติ
เหมือนทหารยาม ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละธรรมที่มีโทษ เจริญ

เชิงอรรถ :
1 ดูความเต็มในสัตตกนิบาต ข้อ 6 หน้า 10-11 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :140 }