เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 7.มหาวรรค 3.นคโรปมสูตร
ภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ด้วยเครื่องป้องกันนครประการ
ที่ 7 นี้
อาหาร 4 อย่างที่ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
อะไรบ้าง คือ
1. ปัจจันตนครของพระราชานี้ มีการสะสมหญ้า ไม้ และน้ำไว้มาก
เพื่อความอุ่นใจ เพื่อความไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุกของ
ประชาชนภายใน และเพื่อป้องกันอันตรายภายนอก
2. ปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมข้าวสาลี และข้าวเหนียว
ไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ เพื่อความไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุก
ของประชาชนภายใน และเพื่อป้องกันอันตรายภายนอก
3. ปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมอปรัณณชาติ คือ งา ถั่วเขียว
ถั่วทอง ไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ เพื่อความไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความ
อยู่ผาสุกของประชาชนภายใน และเพื่อป้องกันอันตรายภายนอก
4. ปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมเภสัช คือ เนยใส เนยข้น
น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เกลือ ไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ เพื่อความไม่
สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุกของประชาชนภายใน และเพื่อป้องกัน
อันตรายภายนอก
ภิกษุทั้งหลาย อาหาร 4 อย่างนี้แล ที่ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก
ได้โดยไม่ลำบาก
ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ปัจจันตนครของพระราชาเป็นนครป้องกันไว้ดี ด้วย
เครื่องป้องกันนคร 7 ประการนี้ และได้อาหาร 4 ประการนี้ตามความปรารถนา
ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ในกาลนั้น เราจึงเรียกปัจจันตนครของพระราชานี้ว่า
ศัตรูหมู่ปัจจามิตรภายนอกทำอะไรไม่ได้
ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน ในกาลใด อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรม
7 ประการ และได้ฌาน 4 ประการ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :138 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 7.มหาวรรค 3.นคโรปมสูตร
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ในกาลนั้น เราจึงเรียกอริย-
สาวกนี้ว่า มารมีบาปก็ทำอะไรไม่ได้
อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรม 7 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อริยสาวกเป็นผู้มีศรัทธา คือเชื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ของตถาคตว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ1 เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค’ เปรียบเหมือนปัจจันตนครของพระราชา มี
เสาระเนียดขุดหลุมฝังลึกไว้เป็นอย่างดี ไม่หวั่นไหว ไม่คลอนแคลน
เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกเป็นผู้มีศรัทธาเหมือนเสาระเนียด ย่อมละอกุศล เจริญ
กุศล ละธรรมที่มีโทษ เจริญธรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์
อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรมประการที่ 1 นี้
2. อริยสาวกเป็นผู้มีหิริ คือ ละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ละอายต่อการประกอบบาปอกุศลธรรม เปรียบเหมือนปัจจันตนคร
ของพระราชา มีคูลึกและกว้าง เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกัน
อันตรายภายนอก ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีหิริเหมือนคู
ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละธรรมที่มีโทษ เจริญธรรมที่ไม่มีโทษ
บริหารตนให้บริสุทธิ์ อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรมประการ
ที่ 2 นี้
3. อริยสาวกเป็นผู้มีโอตตัปปะ คือ สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อการประกอบบาปอกุศลธรรม เปรียบเหมือน
ปัจจันตนครของพระราชา มีทางเดินได้รอบ ทั้งสูงและกว้าง เพื่อ
คุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกผู้มีโอตตัปปะเหมือนทางเดินรอบกำแพง ย่อมละอกุศล

เชิงอรรถ :
1 ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ 29 (อักขณสูตร) หน้า 276 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :139 }