เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 7.มหาวรรค 3.นคโรปมสูตร
ปัจจันตนครชื่อว่าป้องกันดีด้วยเครื่องป้องกันนคร 7 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ปัจจันตนครของพระราชามีเสาระเนียดขุดหลุมฝังลึกไว้เป็นอย่างดี
ไม่หวั่นไหว ไม่คลอนแคลน ปัจจันตนครของพระราชาชื่อว่าป้อง
กันดี เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ด้วยเครื่อง
ป้องกันนครประการที่ 1 นี้
2. ปัจจันตนครของพระราชามีคูลึกและกว้าง ปัจจันตนครของพระราชา
ชื่อว่าป้องกันดีเพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก
ด้วยเครื่องป้องกันนครประการที่ 2 นี้
3. ปัจจันตนครของพระราชามีทางเดินได้รอบ ทั้งสูงและกว้าง ปัจจันต
นครของพระราชาชื่อว่าป้องกันดี เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกัน
อันตรายภายนอก ด้วยเครื่องป้องกันนครประการที่ 3 นี้
4. ปัจจันตนครของพระราชามีการสะสมอาวุธไว้มาก ทั้งที่เป็นอาวุธ
แหลมยาวและอาวุธมีคม ปัจจันตนครของพระราชาชื่อว่าป้องกันดี
เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ด้วยเครื่อง
ป้องกันนครประการที่ 4 นี้
5. ปัจจันตนครของพระราชามีกองพลตั้งอาศัยอยู่มาก คือ พลช้าง พล
ม้า พลรถ พลธนู หน่วยเชิญธง หน่วยจัดกระบวนทัพ หน่วยพลาธิ-
การ หน่วยเสนาธิการ หน่วยจู่โจม หน่วยทหารหาญ หน่วยกล้าตาย
หน่วยทหารเกราะหนัง หน่วยทหารทาส ปัจจันตนครของพระราชา
ชื่อว่าป้องกันดี เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก
ด้วยเครื่องป้องกันนครประการที่ 5 นี้
6. ปัจจันตนครของพระราชามีทหารยามฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญา
คอยกันคนที่ไม่รู้จักไม่ให้เข้าไป ให้คนที่รู้จักเข้าไป ปัจจันตนครของ
พระราชาชื่อว่าป้องกันดี เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตราย
ภายนอก ด้วยเครื่องป้องกันนครประการที่ 6 นี้
7. ปัจจันตนครของพระราชามีกำแพงสูงและกว้าง พร้อมด้วยป้อมก่ออิฐ
ถือปูนดี ปัจจันตนครของพระราชาชื่อว่าป้องกันดี เพื่อคุ้มกันภัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :137 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 7.มหาวรรค 3.นคโรปมสูตร
ภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ด้วยเครื่องป้องกันนครประการ
ที่ 7 นี้
อาหาร 4 อย่างที่ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
อะไรบ้าง คือ
1. ปัจจันตนครของพระราชานี้ มีการสะสมหญ้า ไม้ และน้ำไว้มาก
เพื่อความอุ่นใจ เพื่อความไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุกของ
ประชาชนภายใน และเพื่อป้องกันอันตรายภายนอก
2. ปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมข้าวสาลี และข้าวเหนียว
ไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ เพื่อความไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุก
ของประชาชนภายใน และเพื่อป้องกันอันตรายภายนอก
3. ปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมอปรัณณชาติ คือ งา ถั่วเขียว
ถั่วทอง ไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ เพื่อความไม่สะดุ้งกลัว เพื่อความ
อยู่ผาสุกของประชาชนภายใน และเพื่อป้องกันอันตรายภายนอก
4. ปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมเภสัช คือ เนยใส เนยข้น
น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เกลือ ไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ เพื่อความไม่
สะดุ้งกลัว เพื่อความอยู่ผาสุกของประชาชนภายใน และเพื่อป้องกัน
อันตรายภายนอก
ภิกษุทั้งหลาย อาหาร 4 อย่างนี้แล ที่ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก
ได้โดยไม่ลำบาก
ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ปัจจันตนครของพระราชาเป็นนครป้องกันไว้ดี ด้วย
เครื่องป้องกันนคร 7 ประการนี้ และได้อาหาร 4 ประการนี้ตามความปรารถนา
ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ในกาลนั้น เราจึงเรียกปัจจันตนครของพระราชานี้ว่า
ศัตรูหมู่ปัจจามิตรภายนอกทำอะไรไม่ได้
ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน ในกาลใด อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรม
7 ประการ และได้ฌาน 4 ประการ อันมีในจิตยิ่งซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :138 }