เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 7.มหาวรรค 3.นคโรปมสูตร
3. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยปัญญา
4. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดอริยวิมุตติ
ภิกษุทั้งหลาย เราได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยศีล เราได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยสมาธิ
เราได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยปัญญา เราได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยวิมุตติ เราถอนภวตัณหา
ได้แล้ว ภวเนตติ1สิ้นไปแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก”
พระผู้มีพระภาคผู้พระสุคตศาสดา ได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
พระโคดมผู้มียศตรัสรู้ธรรมเหล่านี้ คือ
ศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุตติอันยอดเยี่ยม
ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสบอกธรรม
แก่ภิกษุทั้งหลายเพื่อความรู้ยิ่ง
พระศาสดาผู้มีพระจักษุ2ทรงทำที่สุดแห่งทุกข์ ปรินิพพาน3แล้ว
สัตตสุริยสูตรที่ 2 จบ

3. นคโรปมสูตร
ว่าด้วยธรรมเปรียบด้วยเครื่องป้องกันนคร
[67] ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ปัจจันตนคร(เมืองชายแดน)ของพระราชา
เป็นนครที่ป้องกันไว้ดีด้วยเครื่องป้องกันนคร 7 ประการ และได้อาหาร 4 อย่าง
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ในกาลนั้น เราจึงเรียกปัจจันต-
นครของพระราชานี้ว่า ศัตรูหมู่ปัจจามิตรภายนอกทำอะไรไม่ได้

เชิงอรรถ :
1 ภวเนตติ เป็นชื่อของตัณหา หมายถึงเชือกผูกสัตว์ไว้ในภพ (ภวรชฺชุ) (องฺ.จตุกฺก.อ. 2/1/279)
2 จักษุ ในที่นี้หมายถึงจักษุ 5 คือ (1) จักษุ (ตาเนื้อ) (2) ทิพพจักษุ (ตาทิพย์) (3) ปัญญาจักษุ (ตาปัญญา)
(4) พุทธจักษุ (ตาพระพุทธเจ้า) (5) สมันตจักษุ (ตาเห็นรอบ) (องฺ.สตฺตก.อ. 3/66/199)
3 ปรินิพพาน ในที่นี้หมายถึงดับกิเลสได้สิ้นเชิง (ที.ม.อ. 2/186/169, องฺ.จตุกฺก.อ. 2/1/279)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :136 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 7.มหาวรรค 3.นคโรปมสูตร
ปัจจันตนครชื่อว่าป้องกันดีด้วยเครื่องป้องกันนคร 7 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ปัจจันตนครของพระราชามีเสาระเนียดขุดหลุมฝังลึกไว้เป็นอย่างดี
ไม่หวั่นไหว ไม่คลอนแคลน ปัจจันตนครของพระราชาชื่อว่าป้อง
กันดี เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ด้วยเครื่อง
ป้องกันนครประการที่ 1 นี้
2. ปัจจันตนครของพระราชามีคูลึกและกว้าง ปัจจันตนครของพระราชา
ชื่อว่าป้องกันดีเพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก
ด้วยเครื่องป้องกันนครประการที่ 2 นี้
3. ปัจจันตนครของพระราชามีทางเดินได้รอบ ทั้งสูงและกว้าง ปัจจันต
นครของพระราชาชื่อว่าป้องกันดี เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกัน
อันตรายภายนอก ด้วยเครื่องป้องกันนครประการที่ 3 นี้
4. ปัจจันตนครของพระราชามีการสะสมอาวุธไว้มาก ทั้งที่เป็นอาวุธ
แหลมยาวและอาวุธมีคม ปัจจันตนครของพระราชาชื่อว่าป้องกันดี
เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ด้วยเครื่อง
ป้องกันนครประการที่ 4 นี้
5. ปัจจันตนครของพระราชามีกองพลตั้งอาศัยอยู่มาก คือ พลช้าง พล
ม้า พลรถ พลธนู หน่วยเชิญธง หน่วยจัดกระบวนทัพ หน่วยพลาธิ-
การ หน่วยเสนาธิการ หน่วยจู่โจม หน่วยทหารหาญ หน่วยกล้าตาย
หน่วยทหารเกราะหนัง หน่วยทหารทาส ปัจจันตนครของพระราชา
ชื่อว่าป้องกันดี เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก
ด้วยเครื่องป้องกันนครประการที่ 5 นี้
6. ปัจจันตนครของพระราชามีทหารยามฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญา
คอยกันคนที่ไม่รู้จักไม่ให้เข้าไป ให้คนที่รู้จักเข้าไป ปัจจันตนครของ
พระราชาชื่อว่าป้องกันดี เพื่อคุ้มกันภัยภายในและป้องกันอันตราย
ภายนอก ด้วยเครื่องป้องกันนครประการที่ 6 นี้
7. ปัจจันตนครของพระราชามีกำแพงสูงและกว้าง พร้อมด้วยป้อมก่ออิฐ
ถือปูนดี ปัจจันตนครของพระราชาชื่อว่าป้องกันดี เพื่อคุ้มกันภัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :137 }