เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 6.อัพยากตวรรค 11.โกธนสูตร
เครื่องลาดมีเพดาน เครื่องลาดมีหมอน 2 ข้างก็จริง แต่บุคคลผู้
ถูกความโกรธครอบงำนั้น ก็นอนเป็นทุกข์ อยู่นั่นเอง นี้เป็นธรรม
ประการที่ 2 ที่ศัตรูมุ่งหมาย ที่ศัตรูพึงทำ
3. ศัตรูในโลกนี้ย่อมปรารถนาต่อศัตรูอย่างนี้ว่า ‘ขอให้เจ้าคนนี้ อย่าได้
มีความเจริญเลย’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะศัตรูย่อมไม่ยินดีให้
ศัตรูมีความเจริญ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มักโกรธ ถูกความโกรธ
ครอบงำ โกรธจัดนี้ แม้ได้ความเสื่อมก็เข้าใจว่า ‘ตนได้ความเจริญ’
แม้ได้ความเจริญก็เข้าใจว่า ‘ตนได้ความเสื่อม’ ธรรมเหล่านี้เป็น
ข้าศึกต่อกันและกัน ที่บุคคลผู้ถูกความโกรธครอบงำนั้นยึดถือแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน นี้เป็นธรรมประการ
ที่ 3 ที่ศัตรูมุ่งหมาย ที่ศัตรูพึงทำ
4. ศัตรูในโลกนี้ย่อมปรารถนาต่อศัตรูอย่างนี้ว่า ‘ขอให้เจ้าคนนี้เป็นคน
ไม่มีโภคทรัพย์เถิด’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะศัตรูย่อมไม่ยินดีให้
ศัตรูมีโภคทรัพย์ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มักโกรธ ถูกความโกรธ
ครอบงำ โกรธจัดนี้ แม้มีโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร
เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม
ได้มาโดยธรรมก็จริง แต่พระราชาก็รับสั่งให้ริบโภคทรัพย์ของบุคคล
ผู้ถูกความโกรธครอบงำ นี้เป็นธรรมประการที่ 4 ที่ศัตรูมุ่งหมาย
ที่ศัตรูพึงทำ
5. ศัตรูในโลกนี้ย่อมปรารถนาต่อศัตรูอย่างนี้ว่า ‘ขอให้เจ้าคนนี้เป็น
คนไม่มียศเถิด’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะศัตรูย่อมไม่ยินดีให้ศัตรู
มียศ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มักโกรธ ถูกความโกรธครอบงำ
โกรธจัดนี้ แม้มียศที่ได้มาด้วยความไม่ประมาทก็จริง แต่บุคคลผู้
ถูกความโกรธครอบงำก็เสื่อมจากยศนั้น นี้เป็นธรรมประการที่ 5
ที่ศัตรูมุ่งหมาย ที่ศัตรูพึงทำ
6. ศัตรูในโลกนี้ย่อมปรารถนาต่อศัตรูอย่างนี้ว่า ‘ขอให้เจ้าคนนี้เป็น
คนไม่มีมิตรเถิด’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะศัตรูย่อมไม่ยินดีให้ศัตรู

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :126 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 6.อัพยากตวรรค 11.โกธนสูตร
มีมิตร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มักโกรธ ถูกความโกรธครอบงำ
โกรธจัดนี้ แม้มีมิตร อำมาตย์ ญาติ สาโลหิต1ก็จริง แต่คน
เหล่านั้นก็พากันหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ถูกความโกรธครอบงำนั้นไปห่างไกล
นี้เป็นธรรมประการที่ 6 ที่ศัตรูมุ่งหมาย ที่ศัตรูพึงทำ
7. ศัตรูในโลกนี้ย่อมปรารถนาต่อศัตรูอย่างนี้ว่า ‘ขอให้เจ้าคนนี้
หลังจากตายแล้วไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรกเถิด’ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะศัตรูย่อมไม่ยินดีให้ศัตรูไปสู่สุคติ ภิกษุทั้งหลาย
บุคคลผู้มักโกรธ ถูกความโกรธครอบงำ โกรธจัดนี้ ประพฤติทุจริต
ทางกาย ประพฤติทุจริตทางวาจา ประพฤติทุจริตทางใจ หลังจาก
ตายแล้ว ย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก นี้เป็นธรรม
ประการที่ 7 ที่ศัตรูมุ่งหมาย ที่ศัตรูพึงทำ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 7 ประการนี้แล ที่ศัตรูมุ่งหมาย ที่ศัตรูพึงทำ ย่อมมา
ถึงบุคคลผู้มักโกรธ จะเป็นสตรี หรือบุรุษก็ตาม
บุคคลผู้มักโกรธนั้น
มีผิวพรรณทราม นอนเป็นทุกข์
ได้ความเจริญแล้ว ก็ยังถึงความเสื่อม
บุคคลผู้มักโกรธ ถูกความโกรธครอบงำ
ทำการเข่นฆ่าทางกาย วาจา
ย่อมประสบความเสื่อมทรัพย์

เชิงอรรถ :
1 อำมาตย์ หมายถึงเพื่อนที่รักกันมาก (สุหัชชา) สามารถปรึกษาหารือกันได้ทุกเรื่อง ทุกโอกาส
ญาติ หมายถึงบิดามารดาของสามีและเครือญาติฝ่ายบิดามารดาของสามี หรือบิดามารดาของภรรยาและ
เครือญาติฝ่ายบิดามารดาของภรรยา
สาโลหิต หมายถึงผู้ร่วมสายเลือดเดียวกัน ได้แก่ ปู่ หรือตา ย่า หรือยาย บิดาหรือมารดา บุตรหรือธิดา
พี่ชายน้องชาย พี่สาวน้องสาว (เทียบ องฺ.ติก.อ. 2/76/227, องฺ.ทสก.อ. 3/71/358, องฺ.ทสก.ฏีกา 3/71-
74/425)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :127 }