เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 6.อัพยากตวรรค 8.จปลายมานสูตร
โมคคัลลานะ ถ้าภิกษุชูงวงเข้าไปยังตระกูล และในตระกูลก็มีกิจที่จะต้องทำ
หลายอย่าง ทำให้ผู้คนไม่ใส่ใจถึงภิกษุผู้มาถึงแล้ว เพราะเหตุนั้น ภิกษุจึงมีความคิด
อย่างนี้ว่า ‘เดี๋ยวนี้ ใครกันนะยุยงให้เราแตกกับตระกูลนี้ เดี๋ยวนี้ คนเหล่านี้
เบื่อหน่ายเรา’ ดังนั้น เธอจึงมีความเก้อเขินเพราะไม่ได้อะไร เมื่อเก้อเขิน จึงมีความ
ฟุ้งซ้าน เมื่อฟุ้งซ่าน จึงมีความไม่สำรวม เมื่อไม่สำรวม จิตจึงห่างจากสมาธิ
โมคคัลลานะ เพราะเหตุนั้นแล เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราจักไม่กล่าว
ถ้อยคำที่เป็นเหตุให้ทุ่มเถียงกัน’ เธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
โมคคัลลานะ เมื่อมีถ้อยคำที่เป็นเหตุให้ทุ่มเถียงกัน ก็จำต้องพูดมาก เมื่อมี
การพูดมาก ความฟุ้งซ่านจึงมี เมื่อฟุ้งซ่าน จึงมีความไม่สำรวม เมื่อไม่สำรวม
จิตจึงห่างจากสมาธิ
โมคคัลลานะ เราไม่สรรเสริญการคลุกคลีกับคนทั้งปวง เราจะไม่สรรเสริญ
การคลุกคลีโดยประการทั้งปวงเลยก็หาไม่ คือ เราไม่สรรเสริญการคลุกคลีด้วยหมู่ชน
ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต แต่เราสรรเสริญการคลุกคลีด้วยเสนาสนะที่มีเสียงน้อย
มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็นสถานที่ทำการลับ
ของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ว่าโดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเท่าไรหนอ
ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้หลุดพ้นเพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา มีความสำเร็จสูงสุด1 มีความ----------------------------------------

--
1มีความสำเร็จสูงสุด หมายถึงเข้าถึงนิพพาน (องฺ.เอกาทสก.อ. 3/10/383) และดู องฺ.เอกาทสก. (แปล)
24/10/406 ภิกษุผู้ชื่อว่า มีความสำเร็จสูงสุด เพราะไม่มีธรรมที่กำเริบอีกและไม่มีสภาวะที่ต้องเสื่อมอีก
ชื่อว่า มีความเกษมจากโยคะสูงสุด เพราะปลอดภัยจากโยคกิเลส 4 ประการได้อย่างสิ้นเชิง ชื่อว่า
ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด เพราะการประพฤตินั้นจะไม่เสื่อมอีกเนื่องจากอยู่จบมัคคพรหมจรรย์แล้ว
ชื่อว่า มีที่สุดอันสูงสุด เพราะมีความสิ้นสุดคือการประพฤติมัคคพรหมจรรย์ และทำที่สุดวัฏฏทุกข์ได้
(องฺ.สตฺตก.ฏีกา 3/661/218)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :118 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 6.อัพยากตวรรค 8.จปลายมานสูตร
เกษมจากโยคะสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด ประเสริฐกว่า
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โมคคัลลานะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับมาว่า ธรรม
ทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ภิกษุได้สดับมาอย่างนั้นว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ภิกษุ
นั้นย่อมรู้ชัดธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ชัดธรรมทั้งปวงแล้ว จึงกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง
ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว จึงเสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ สุขเวทนา
ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา เธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา
เหล่านั้นอยู่ พิจารณาเห็นความคลายไปในเวทนาเหล่านั้นอยู่ พิจารณาเห็นความดับ
ไปในเวทนาเหล่านั้นอยู่ พิจารณาเห็นความสละคืนในเวทนาเหล่านั้นอยู่ เมื่อพิจารณา
เห็นความไม่เที่ยงในเวทนาเหล่านั้นอยู่ พิจารณาเห็นความคลายไปในเวทนาเหล่านั้นอยู่
พิจารณาเห็นความดับไปในเวทนาเหล่านั้นอยู่ พิจารณาเห็นความสละคืนในเวทนา
เหล่านั้นอยู่ เธอก็ไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ก็ไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง
ก็ปรินิพพานเฉพาะตน1 เธอย่อมรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจ
ที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป
โมคคัลลานะ ว่าโดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเท่านี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้หลุดพ้น
เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา มีความสำเร็จสูงสุด มีความเกษมจากโยคะสูงสุด ประพฤติ
พรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”
จปลายมานสูตรที่ 8 จบ

เชิงอรรถ :
1ปรินิพพานเฉพาะตน ในที่นี้หมายถึงดับกิเลสได้เอง (องฺ.สตฺตก.อ. 3/61/194)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :119 }