เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 6.อัพยากตวรรค 5.อรักเขยยสูตร
ตถาคตไม่ถูกติเตียนด้วยฐานะ 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ตถาคตมีธรรมที่กล่าวไว้ดีแล้ว เราไม่เห็นนิมิต1นี้ว่า ‘สมณะ พราหมณ์
เทวดา พรหม หรือใครๆ ในโลก จักทักท้วงเราด้วยคำพูดที่มีเหตุผล
ในธรรมนั้นว่า แม้เพราะเหตุนี้ ท่านจึงมิใช่เป็นผู้มีธรรมที่กล่าวไว้
ดีแล้ว’ เราเมื่อไม่เห็นนิมิตแม้นั้น จึงถึงความเกษม ไม่มีความกลัว
แกล้วกล้าอยู่2
2. เราได้บัญญัติไว้ดีแล้วซึ่งข้อปฏิบัติที่ให้ถึงนิพพานโดยวิธีที่สาวกทั้งหลาย
ของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่
ในปัจจุบัน เราไม่เห็นนิมิตนี้ว่า ‘สมณะ พราหมณ์ เทวดา พรหม
หรือใครๆ ในโลก จักทักท้วงเราด้วยคำพูดที่มีเหตุผลในธรรมนั้นว่า
แม้เพราะเหตุนี้ ท่านมิได้บัญญัติไว้ดีแล้วซึ่งข้อปฏิบัติที่ให้ถึงนิพพาน
โดยวิธีที่สาวกทั้งหลายของท่านปฏิบัติตามแล้ว ย่อมทำให้แจ้ง
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ฯลฯ’ เราเมื่อไม่เห็นนิมิตแม้นั้น จึงถึง
ความเกษม ไม่มีความกลัว แกล้วกล้าอยู่
3. สาวกบริษัทของเราหลายร้อย ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
ฯลฯ เราไม่เห็นนิมิตนี้ว่า ‘สมณะ พราหมณ์ เทวดา พรหม หรือ
ใครๆ ในโลก จักทักท้วงเราด้วยคำพูดที่มีเหตุผลในธรรมนั้นว่า
แม้เพราะเหตุนี้ สาวกบริษัทหลายร้อยของท่าน มิได้ทำให้แจ้ง
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ เราเมื่อไม่เห็นนิมิตแม้นั้น
จึงถึงความเกษม ไม่มีความกลัว แกล้วกล้าอยู่
ตถาคตไม่ถูกติเตียนด้วยฐานะ 3 ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ 4 ประการที่ตถาคตไม่ต้องรักษา และตถาคตไม่ถูก
ติเตียนด้วยฐานะ 3 ประการนี้แล
อรักเขยยสูตรที่ 5 จบ

เชิงอรรถ :
1 นิมิต ในที่นี้หมายถึงธรรม คือเมื่อแสดงธรรม พระองค์ก็ไม่เห็นธรรมที่กล่าวไม่ดีแม้สักบทหนึ่ง และหมาย
ถึงบุคคล คือ พระองค์ไม่เห็นบุคคลแม้สักคนเดียวที่อุปัฏฐากพระองค์แล้วยังดิ้นรนกล่าวอยู่ว่า ‘ท่านกล่าว
ธรรมชั่ว ท่านกล่าวธรรมไม่ดี’ (องฺ.สตฺตก.อ. 3/58/192)
2 ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/8/13

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :113 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 6.อัพยากตวรรค 6.กิมิลสูตร
6. กิมิลสูตร
ว่าด้วยพระกิมิละ1
[59] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าไผ่ เขตกรุงกิมิลา ครั้งนั้น ท่านพระ
กิมิละเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระสัทธรรมไม่ดำรง
อยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “กิมิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว เหล่าภิกษุ
ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาในธรรมวินัยนี้
1. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในศาสดา
2. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในธรรม
3. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสงฆ์
4. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสิกขา
5. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสมาธิ
6. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในความไม่ประมาท
7. อยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในปฏิสันถาร
กิมิละ นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัทธรรมดำรงอยู่ได้ไม่นาน ในเมื่อตถาคต
ปรินิพพานแล้ว”
ท่านพระกิมิละทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็น
ปัจจัยให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “กิมิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว เหล่าภิกษุ
ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาในธรรมวินัยนี้

เชิงอรรถ :
1 องฺ.ฉกฺก. (แปล) 22/40/491

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :114 }