เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 6.อัพยากตวรรค 4.สีหเสนาปติสูตร
“สีหะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ พระอรหันต์เมื่อจะรับทาน พึงรับทาน
ของใครก่อน ระหว่างคนไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว ชอบด่าบริภาษ กับคนมี
ศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ทานสม่ำเสมอ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระอรหันต์เมื่อจะรับทาน จักรับทานของคนไม่มี
ศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว ชอบด่าบริภาษก่อนได้อย่างไร พระอรหันต์เมื่อจะรับทาน
พึงรับทานของคนมีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ทานสม่ำเสมอก่อนแน่แท้”
“สีหะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ พระอรหันต์เมื่อจะแสดงธรรม พึงแสดง
ธรรมแก่ใครก่อน ระหว่างคนไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว ชอบด่าบริภาษ กับคน
มีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ทานสม่ำเสมอ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระอรหันต์เมื่อจะแสดงธรรม จักแสดงธรรมแก่คน
ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว ชอบด่าบริภาษก่อนได้อย่างไร พระอรหันต์เมื่อจะ
แสดงธรรม พึงแสดงธรรมแก่คนมีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ทานสม่ำเสมอก่อน
แน่แท้”
“สีหะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ กิตติศัพท์อันงามของใครหนอควรขจรไป
ระหว่างคนไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว ชอบด่าบริภาษ กับคนมีศรัทธา เป็น
ทานบดี ยินดีให้ทานสม่ำเสมอ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กิตติศัพท์อันงามของคนไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว
ชอบด่าบริภาษจักขจรไปได้อย่างไร กิตติศัพท์อันงามของคนมีศรัทธา เป็นทานบดี
ยินดีให้ทานสม่ำเสมอเท่านั้นพึงขจรไป”
“สีหะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ ใครกันเล่าระหว่างคนไม่มีศรัทธา ตระหนี่
ถี่เหนียว ชอบด่าบริภาษ กับคนมีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ทานสม่ำเสมอเข้า
ไปยังบริษัทใดๆ จะเป็นขัตติยบริษัทก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัท
ก็ตาม สมณบริษัทก็ตาม พึงเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เก้อเขินเข้าไปยังบริษัทนั้นๆ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :110 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 6.อัพยากตวรรค 4.สีหเสนาปติสูตร
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว ชอบด่าบริภาษ เข้าไป
ยังบริษัทใดๆ จะเป็นขัตติยบริษัทก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม
สมณบริษัทก็ตาม จักเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เก้อเขิน เข้าไปยังบริษัทนั้นๆ ได้อย่างไร
คนมีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ทานสม่ำเสมอ เข้าไปยังบริษัทใดๆ จะเป็นขัตติย-
บริษัทก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัทก็ตาม พึงเป็น
ผู้แกล้วกล้า ไม่เก้อเขินเข้าไปยังบริษัทนั้นๆ”
“สีหะ ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ ใครกันเล่าระหว่างคนไม่มีศรัทธา ตระหนี่
ถี่เหนียว ชอบด่าบริภาษ กับคนมีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ทานสม่ำเสมอ
หลังจากตายแล้ว พึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว ชอบด่าบริภาษ
หลังจากตายแล้ว จักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ได้อย่างไร คนมีศรัทธา เป็นทานบดี
ยินดีให้ทานสม่ำเสมอ หลังจากตายแล้ว พึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง 6 ประการพระผู้มีพระภาค
ตรัสบอกแล้ว ในผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง 6 ประการนั้น ข้าพระองค์ไม่เพียงแต่
เชื่อพระผู้มีพระภาคเท่านั้น แต่ยังทราบอีกด้วย ข้าพระองค์เป็นทายก เป็นทานบดี
พระอรหันต์เมื่อจะอนุเคราะห์ ย่อมอนุเคราะห์ข้าพระองค์ก่อน ข้าพระองค์เป็นทายก
เป็นทานบดี พระอรหันต์เมื่อจะเข้าไปหา ย่อมเข้าไปหาข้าพระองค์ก่อน ข้าพระองค์
เป็นทายก เป็นทานบดี พระอรหันต์เมื่อจะรับทาน ย่อมรับทานของข้าพระองค์ก่อน
ข้าพระองค์เป็นทายก เป็นทานบดี พระอรหันต์เมื่อจะแสดงธรรม ย่อมแสดงธรรม
แก่ข้าพระองค์ก่อน ข้าพระองค์เป็นทายก เป็นทานบดี กิตติศัพท์อันงามของ
ข้าพระองค์ขจรไปแล้วว่า ‘สีหะเสนาบดี เป็นการกบุคคล เป็นผู้อุปัฏฐากพระสงฆ์’
ข้าพระองค์เป็นทายก เป็นทานบดี เข้าไปยังบริษัทใดๆ จะเป็นขัตติยบริษัทก็ตาม
พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัทก็ตาม ย่อมเป็นผู้แกล้วกล้า
ไม่เก้อเขินเข้าไปยังบริษัทนั้นๆ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :111 }