เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 1.ธนวรรค 6.วิตถตธนสูตร
ในที่สุด1 ประกาศพรหมจรรย์2พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์3ครบถ้วน
ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ4 นี้เรียกว่า สุตธนะ
จาคธนะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน
มีจาคะอันสละแล้ว มีฝ่ามือชุ่ม5 ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกทาน
อยู่ครองเรือน นี้เรียกว่า จาคธนะ

เชิงอรรถ :
(5) อุทาน ได้แก่ พระคาถาที่ทรงเปล่งด้วยพระทัยอันสหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณพร้อมทั้ง
ข้อความอันประกอบอยู่ด้วย รวมเป็นพระสูตร 82 สูตร (6) อิติวุตตกะ ได้แก่ พระสูตร 110 สูตรที่
ตรัสโดยนัยว่า “วุตฺตํ เหตํ ภควตา” (7) ชาตกะ ได้แก่ ชาดก 550 เรื่อง มีอปัณณกชาดก เป็นต้น
(8) อัพภูตธรรม ได้แก่ พระสูตรที่ว่าด้วยเหตุอัศจรรย์ทุกสูตร เช่นที่ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเป็น
อัจฉริยะไม่เคยปรากฏ 4 ประการนี้ มีอยู่ในอานนท์” ดังนี้ เป็นต้น (9) เวทัลละ ได้แก่ พระสูตรแบบถาม
ตอบซึ่งผู้ถามได้ทั้งความรู้และความพอใจถามต่อๆ ไป เช่น จูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร
สักกปัญหสูตร สังขารภาชนิยสูตร และมหาปุณณมสูตร (องฺ.จตุกฺก.อ.2/6/282, วิ.อ.1/26) และดู
องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/6/9-11, องฺ.ปญฺจก. (แปล) 22/73/123
1 มีความงามในเบื้องต้น หมายถึงศีล มีความงามในท่ามกลาง หมายถึงอริยมรรค และ มีความงาม
ในที่สุด หมายถึงพระนิพพาน (ที.สี.อ. 1/190/159)
2 พรหมจรรย์ หมายถึงความประพฤติประเสริฐ มีนัย 10 ประการ คือ ทาน (การให้) เวยยาวัจจะ (การ
ขวนขวายช่วยเหลือ) ปัญจสีละ (ศีลห้า) อัปปมัญญา (การประพฤติพรหมวิหารอย่างไม่มีขอบเขต)
เมถุนวิรัติ (การงดเว้นจากการเสพเมถุน) สทารสันโดษ (ความยินดีเฉพาะคู่ครองของตน) วิริยะ (ความเพียร)
อุโปสถังคะ (องค์อุโบสถ) อริยมรรค (ทางอันประเสริฐ) และศาสนา (พระพุทธศาสนา) ในที่นี้หมายถึงศาสนา
(ที.สี.อ. 1/190/160-162)
3 บริสุทธิ์ หมายถึงไม่มีสิ่งเป็นโทษที่จะต้องนำออก บริบูรณ์ หมายถึงเต็มที่แล้วโดยไม่ต้องนำไปเพิ่มอีก
(ตามนัย วิ.อ. 1/1/121)
4 แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ หมายถึงรู้แจ้งธรรมโดยผลและเหตุด้วยปัญญา (องฺ.จตุกฺก.อ. 2/22/300)
5 มีฝ่ามือชุ่ม หมายถึงมีมือล้างสะอาดแล้วด้วยน้ำคือศรัทธา ถ้าคนไม่มีศรัทธาแม้จะล้างถึง 7 ครั้งก็ชื่อว่า
มีมือยังไม่ได้ล้าง มีมือสกปรก แต่คนมีศรัทธา แม้มีมือสกปรกก็ชื่อว่ามีมือสะอาดแล้ว (องฺ.ติก.อ. 2/42/
148)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :11 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 1.ธนวรรค 6.วิตถตธนสูตร
ปัญญาธนะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญา ฯลฯ1
ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า ปัญญาธนะ
ภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ 7 ประการนี้แล
ผู้ใดจะเป็นสตรี หรือบุรุษก็ตาม
มีทรัพย์ 7 ประการนี้ คือ สัทธาธนะ
สีลธนะ หิริธนะ โอตตัปปธนะ
สุตธนะ จาคธนะ และปัญญาธนะ
บัณฑิตทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า ‘เป็นคนไม่ขัดสน’
ชีวิตของเขาก็ไม่สูญเปล่า
เพราะฉะนั้น ผู้มีปัญญา
เมื่อระลึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ควรหมั่นประกอบศรัทธา ศีล
ความเลื่อมใสและการเห็นธรรม

วิตถตธนสูตรที่ 6 จบ

เชิงอรรถ :
1 ดูความเต็มในข้อ 4 (วิตถตพลสูตร) หน้า 5 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :12 }