เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 6.อัพยากตวรรค 3.ติสสพรหมสูตร
เทวดาองค์หนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุณี
เหล่านี้1หลุดพ้นแล้ว”
เทวดาอีกองค์หนึ่งกราบทูลว่า “ภิกษุณีเหล่านี้หลุดพ้นดีแล้ว เพราะไม่มี
อุปาทานขันธ์2เหลืออยู่”
เทวดา 2 องค์นั้นได้กราบทูลดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ครั้นเทวดา
2 องค์นั้นทราบว่า พระศาสดาทรงพอพระทัยเรา จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค
ทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้นแล
ครั้นคืนนั้นผ่านไป พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อราตรีผ่านไป เทวดา 2 องค์มีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมี
ให้สว่างไปทั่วภูเขาคิชฌกูฏ เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ไหว้เราแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร
เทวดาองค์หนึ่งได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุณีเหล่านี้
หลุดพ้นแล้ว’ เทวดาอีกองค์หนึ่งกล่าวว่า ‘ภิกษุณีเหล่านี้หลุดพ้นดีแล้ว เพราะไม่มี
อุปาทานขันธ์เหลืออยู่’ เทวดา 2 องค์นั้นครั้นกล่าวดังนี้แล้ว จึงไหว้เรา ทำประทักษิณ
แล้วหายไป ณ ที่นั้นแล”

เชิงอรรถ :
1 ภิกษุณีเหล่านี้ ในที่นี้มายถึงเหล่าภิกษุณี 500 รูปที่เป็นบริวารของมหาปชาบดีภิกษุณี (องฺ.สตฺตก.อ.
3/56/191)
2 อุปาทานขันธ์ มาจาก อุปาทาน+ขันธ์ แยกอธิบายความหมายได้ดังนี้ (1 อุปาทาน แปลว่า ความถือมั่น
(อุป=มั่น+อาทาน=ถือ) มีความหมายหลายนัย เช่น หมายถึงชื่อของราคะที่ประกอบด้วยกามคุณ 5
(ปญฺจกามคุณิกราคสฺเสตํ อธิวจนํ-สํ.ข.อ. 2/1/16, อภิ.สงฺ.อ. 1219/442) บ้าง หมายถึงความถือมั่น
ด้วยอำนาจตัณหามานะและทิฏฐิ (ตามนัย สํ.ข.อ. 2/63/308) บ้าง (2) ขันธ์ แปลว่ากอง (ตสฺส ขนฺธสฺส)
ราสิอาทิวเสน อตฺโถ เวทิตพฺโพ-อภิ.สงฺ.อ. 5/192) ดังนั้น อุปาทานขันธ์ จึงหมายถึงกองอันเป็นอารมณ์
แห่งความถือมั่น (อุปาทานานํ อารมฺมณภูตา ขนฺธา = อุปาทานกฺขนฺธา - สํ.ข.ฏีกา 22/254) และดู ที.ปา.
11/311/204, 315/208, สํ.สฬา. 18/328/277, สํ.ม. 19/179/56
เมื่อนำองค์ธรรมคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มารวมกับอุปาทานขันธ์ เช่น วิฺญาณู-
ปาทานกฺขนฺโธ จึงแปลได้ว่า “กองอันเป็นอารมณ์แห่งความถือมั่นคือวิญญาณ” ตามนัย อภิ.สงฺ.อ. 5/192
ว่า วิญฺญาณเมว ขนฺโธ = วิญฺญาณกฺขนฺโธ (กองคือวิญญาณ)
อนึ่ง เมื่อกล่าวโดยสรุป อุปาทานขันธ์ หมายถึงทุกข์ ตามบาลีว่า “สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา
ทุกฺขา” แปลว่า “ว่าโดยย่ออุปาทานขันธ์ 5 เป็นตัวทุกข์” (ม.อุ. 14/373/319, ขุ.ป. 31/33/30-41,
อภิ.วิ.อ. 202/177, วิสุทธิ.2/505/122) และดู อภิ.วิ (แปล) 35/202/166 ประกอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :104 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 6.อัพยากตวรรค 3.ติสสพรหมสูตร
สมัยนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะนั่งอยู่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค ได้มี
ความคิดดังนี้ว่า “เทวดาเหล่าไหนมีญาณอย่างนี้ในบุคคลผู้ยังมีอุปาทานขันธ์เหลือ
อยู่ว่า ‘ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’ หรือในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า
‘ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่”
สมัยนั้นแล ภิกษุชื่อติสสะมรณภาพได้ไม่นานก็เข้าถึงพรหมโลกชั้นใดชั้นหนึ่ง แม้ใน
พรหมโลกนั้น พวกพรหมก็รู้จักท่านอย่างนี้ว่า “ติสสพรหม มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก”
ลำดับนั้นท่านพระมหาโมคคัลลานะได้หายจากภูเขาคิชฌกูฏไปปรากฏที่พรหม-
โลกนั้น เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น
ติสสพรหมได้เห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะกำลังมาแต่ไกล จึงกล่าวกับท่าน
อย่างนี้ว่า “นิมนต์เข้ามาเถิด ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ ขอต้อนรับ นาน ๆ
ท่านจะมีเวลามา ณ ที่นี้ นิมนต์นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้เถิด”
ท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ฝ่ายติสสพรหมได้อภิวาท
ท่านแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงได้กล่าวดังนี้ว่า “ติสสะ เทวดา
เหล่าไหนมีญาณอย่างนี้ในบุคคลผู้ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ยังมีอุปาทานขันธ์
เหลืออยู่’ หรือในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่”
“ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เหล่าเทวดาชั้นพรหมกายิกา1มีญาณอย่างนี้ใน
บุคคลผู้ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’ หรือในบุคคลผู้ไม่
มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่'
“ติสสะ เหล่าเทวดาชั้นพรหมกายิกาทั้งหมดเลยหรือที่มีญาณอย่างนี้ในบุคคล
ผู้ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’ หรือในบุคคลผู้ไม่มี
อุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่''
“มิใช่เลย ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ ที่เหล่าเทวดาชั้นพรหมกายิกาทั้งหมด
มีญาณอย่างนี้ในบุคคลผู้ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ยังมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’
หรือในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ว่า ‘ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่’

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 5 สัตตกนิบาต ข้อ 44 หน้า 67 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :105 }