เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 6.อัพยากตวรรค 3.ติสสพรหมสูตร
หมดเชื้อ แม้ฉันใด ภิกษุ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า
ถ้ากรรมไม่มีแล้ว อัตภาพของเราก็ไม่พึงมี ฯลฯ เพราะสังโยชน์
เบื้องต่ำ 5 ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอุทธังโสตอกนิฏฐคามี
ภิกษุทั้งหลาย คติของบุรุษ 7 ประการนี้แล
อนุปาทาปรินิพพาน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า “ถ้ากรรมไม่มีแล้ว อัตภาพ
ของเราก็ไม่พึงมี ถ้ากรรมจักไม่มี อัตภาพของเราก็จักไม่มี เราย่อมละเบญจขันธ์ที่มี
อยู่เป็นอยู่ได้” ย่อมได้อุเบกขา เธอไม่ติดใจในภพ ไม่ติดใจในสมภพ เห็นทางที่สงบ
อย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ เธอทำให้แจ้งทางที่สงบนั้นโดยประการทั้งปวง ละมานานุสัย
โดยประการทั้งปวงได้ ละภวราคานุสัยโดยประการทั้งปวงได้ ละอวิชชานุสัยโดย
ประการทั้งปวงได้ ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไปด้วย ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้เรียกว่า อนุปาทาปรินิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย คติของบุรุษ 7 ประการ และอนุปาทาปรินิพพานเป็นอย่างนี้แล
ปุริสคติสูตรที่ 2 จบ

3. ติสสพรหมสูตร
ว่าด้วยติสสพรหม1
[56] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น
เมื่อราตรีผ่านไป2 เทวดา 2 องค์มีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างไปทั่วภูเขา
คิชฌกูฏ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร

เชิงอรรถ :
1 หมายถึงพรหมผู้เคยบวชเป็นภิกษุสัทธิวิหาริกของท่านพระมหาโมคคัลลานะ (องฺ.สตฺตก.อ. 3/56/191)
2 ดูเชิงอรรถที่ 1 สัตตกนิบาต ข้อ 32 หน้า 49 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :103 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 6.อัพยากตวรรค 3.ติสสพรหมสูตร
เทวดาองค์หนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุณี
เหล่านี้1หลุดพ้นแล้ว”
เทวดาอีกองค์หนึ่งกราบทูลว่า “ภิกษุณีเหล่านี้หลุดพ้นดีแล้ว เพราะไม่มี
อุปาทานขันธ์2เหลืออยู่”
เทวดา 2 องค์นั้นได้กราบทูลดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ครั้นเทวดา
2 องค์นั้นทราบว่า พระศาสดาทรงพอพระทัยเรา จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค
ทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้นแล
ครั้นคืนนั้นผ่านไป พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อราตรีผ่านไป เทวดา 2 องค์มีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมี
ให้สว่างไปทั่วภูเขาคิชฌกูฏ เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ไหว้เราแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร
เทวดาองค์หนึ่งได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุณีเหล่านี้
หลุดพ้นแล้ว’ เทวดาอีกองค์หนึ่งกล่าวว่า ‘ภิกษุณีเหล่านี้หลุดพ้นดีแล้ว เพราะไม่มี
อุปาทานขันธ์เหลืออยู่’ เทวดา 2 องค์นั้นครั้นกล่าวดังนี้แล้ว จึงไหว้เรา ทำประทักษิณ
แล้วหายไป ณ ที่นั้นแล”

เชิงอรรถ :
1 ภิกษุณีเหล่านี้ ในที่นี้มายถึงเหล่าภิกษุณี 500 รูปที่เป็นบริวารของมหาปชาบดีภิกษุณี (องฺ.สตฺตก.อ.
3/56/191)
2 อุปาทานขันธ์ มาจาก อุปาทาน+ขันธ์ แยกอธิบายความหมายได้ดังนี้ (1 อุปาทาน แปลว่า ความถือมั่น
(อุป=มั่น+อาทาน=ถือ) มีความหมายหลายนัย เช่น หมายถึงชื่อของราคะที่ประกอบด้วยกามคุณ 5
(ปญฺจกามคุณิกราคสฺเสตํ อธิวจนํ-สํ.ข.อ. 2/1/16, อภิ.สงฺ.อ. 1219/442) บ้าง หมายถึงความถือมั่น
ด้วยอำนาจตัณหามานะและทิฏฐิ (ตามนัย สํ.ข.อ. 2/63/308) บ้าง (2) ขันธ์ แปลว่ากอง (ตสฺส ขนฺธสฺส)
ราสิอาทิวเสน อตฺโถ เวทิตพฺโพ-อภิ.สงฺ.อ. 5/192) ดังนั้น อุปาทานขันธ์ จึงหมายถึงกองอันเป็นอารมณ์
แห่งความถือมั่น (อุปาทานานํ อารมฺมณภูตา ขนฺธา = อุปาทานกฺขนฺธา - สํ.ข.ฏีกา 22/254) และดู ที.ปา.
11/311/204, 315/208, สํ.สฬา. 18/328/277, สํ.ม. 19/179/56
เมื่อนำองค์ธรรมคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มารวมกับอุปาทานขันธ์ เช่น วิฺญาณู-
ปาทานกฺขนฺโธ จึงแปลได้ว่า “กองอันเป็นอารมณ์แห่งความถือมั่นคือวิญญาณ” ตามนัย อภิ.สงฺ.อ. 5/192
ว่า วิญฺญาณเมว ขนฺโธ = วิญฺญาณกฺขนฺโธ (กองคือวิญญาณ)
อนึ่ง เมื่อกล่าวโดยสรุป อุปาทานขันธ์ หมายถึงทุกข์ ตามบาลีว่า “สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา
ทุกฺขา” แปลว่า “ว่าโดยย่ออุปาทานขันธ์ 5 เป็นตัวทุกข์” (ม.อุ. 14/373/319, ขุ.ป. 31/33/30-41,
อภิ.วิ.อ. 202/177, วิสุทธิ.2/505/122) และดู อภิ.วิ (แปล) 35/202/166 ประกอบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :104 }