เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 6.อัพยากตวรรค 2.ปุริสคติสูตร
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า ถ้ากรรมไม่มีแล้ว
อัตภาพของเราก็ไม่พึงมี ฯลฯ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ประการ
สิ้นไป เธอจึงเป็นอสังขารปรินิพพายี
6. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า ถ้ากรรมไม่มีแล้ว อัตภาพ
ของเราก็ไม่พึงมี ฯลฯ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ประการสิ้นไป
เธอจึงเป็นสสังขารปรินิพพายี1 ภิกษุทั้งหลาย เมื่อช่างตีแผ่นเหล็ก
ที่ถูกเผาตลอดวัน สะเก็ดร่อนกระเด็นออกแล้วตกลงที่กองหญ้าหรือ
กองไม้เขื่องๆ ทำให้เกิดไฟบ้าง ทำให้เกิดควันบ้าง ไหม้กองหญ้า
หรือกองไม้เขื่องๆ นั้นให้หมดไปแล้วจึงดับไปเพราะหมดเชื้อ แม้ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า ถ้ากรรมไม่มีแล้ว
อัตภาพของเราก็ไม่พึงมี ฯลฯ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ประการ
สิ้นไป เธอจึงเป็นสสังขารปรินิพพายี
7. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า “ถ้ากรรมไม่มีแล้ว
อัตภาพของเราก็ไม่พึงมี ถ้ากรรมจักไม่มี อัตภาพของเราก็จักไม่มี
เราย่อมละเบญจขันธ์ที่มีอยู่เป็นอยู่ได้” ย่อมได้อุเบกขา เธอไม่ติดใจ
ในภพ ไม่ติดใจในสมภพ เห็นทางที่สงบอย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ
เธอยังมิได้ทำให้แจ้งทางที่สงบนั้นโดยประการทั้งปวง ยังมิได้ละ
มานานุสัยโดยประการทั้งปวง ยังมิได้ละภวราคานุสัยโดยประการ
ทั้งปวง ยังมิได้ละอวิชชานุสัยโดยประการทั้งปวง เพราะสังโยชน์
เบื้องต่ำ 5 ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอุทธังโสตอกนิฏฐคามี2 ภิกษุ
ทั้งหลาย เมื่อช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาตลอดวัน สะเก็ดร่อนกระเด็น
ออกแล้วตกลงที่กองหญ้าหรือกองไม้ใหญ่ๆ ทำให้เกิดไฟบ้าง
ทำให้เกิดควันบ้าง ไหม้กองหญ้าหรือกองไม้นั้นให้หมดไปไหม้กอไม้บ้าง
ไหม้ป่าไม้บ้าง ครั้นแล้วจึงลามมาถึงยอดหญ้าสด ปลายทาง
ยอดภูเขา ริมน้ำ หรือภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์แล้วจึงดับไปเพราะ

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 3 สัตตกนิบาต ข้อ 16 หน้า 26 ในเล่มนี้ และดู องฺ.ทสก. (แปล) 24/63/142
2 ดูเชิงอรรถที่ 4 สัตตกนิบาต ข้อ 16 หน้า 26 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :102 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 6.อัพยากตวรรค 3.ติสสพรหมสูตร
หมดเชื้อ แม้ฉันใด ภิกษุ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า
ถ้ากรรมไม่มีแล้ว อัตภาพของเราก็ไม่พึงมี ฯลฯ เพราะสังโยชน์
เบื้องต่ำ 5 ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอุทธังโสตอกนิฏฐคามี
ภิกษุทั้งหลาย คติของบุรุษ 7 ประการนี้แล
อนุปาทาปรินิพพาน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า “ถ้ากรรมไม่มีแล้ว อัตภาพ
ของเราก็ไม่พึงมี ถ้ากรรมจักไม่มี อัตภาพของเราก็จักไม่มี เราย่อมละเบญจขันธ์ที่มี
อยู่เป็นอยู่ได้” ย่อมได้อุเบกขา เธอไม่ติดใจในภพ ไม่ติดใจในสมภพ เห็นทางที่สงบ
อย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ เธอทำให้แจ้งทางที่สงบนั้นโดยประการทั้งปวง ละมานานุสัย
โดยประการทั้งปวงได้ ละภวราคานุสัยโดยประการทั้งปวงได้ ละอวิชชานุสัยโดย
ประการทั้งปวงได้ ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไปด้วย ปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้เรียกว่า อนุปาทาปรินิพพาน
ภิกษุทั้งหลาย คติของบุรุษ 7 ประการ และอนุปาทาปรินิพพานเป็นอย่างนี้แล
ปุริสคติสูตรที่ 2 จบ

3. ติสสพรหมสูตร
ว่าด้วยติสสพรหม1
[56] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น
เมื่อราตรีผ่านไป2 เทวดา 2 องค์มีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างไปทั่วภูเขา
คิชฌกูฏ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร

เชิงอรรถ :
1 หมายถึงพรหมผู้เคยบวชเป็นภิกษุสัทธิวิหาริกของท่านพระมหาโมคคัลลานะ (องฺ.สตฺตก.อ. 3/56/191)
2 ดูเชิงอรรถที่ 1 สัตตกนิบาต ข้อ 32 หน้า 49 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :103 }